Our news

บทความ ห้องเรียน Human ร้าย Human wrong

  • [Book Re:commendation] ถกเถียงเรื่องคุณค่า 2: ว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม

    ความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นเรื่องเด่นของสังคมร่วมสมัย ทั้งในแง่ปรากฏการณ์สังคมและประเด็นทางวิชาการ อาจกล่าวได้ว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมเป็นอุดมคติที่เกิดขึ้นในทางทฤษฎี หากแต่ในทางปฏิบัติกลับมีความย้อนแย้งและอาจเกิดขึ้นจริงไม่ได้ การศึกษาถึงการแลกเปลี่ยนและการตอบโต้ของแนวคิดและค่านิยมเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะทำให้เห็นถึงปัญหา ขีดจำกัด และความท้าทายต่างๆ ที่อุดมคติว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมต้องเผชิญในสภาวะสังคมร่วมสมัย… “ถกเถียงเรื่องคุณค่า 2: ว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรม” คือหนังสือรวมบทความที่เกิดจากความร่วมมือของนักวิชาการด้านปรัชญา ประวัติศาสตร์ วรรณคดี และสถาปัตยกรรมจากสถาบันต่างๆ ที่ร่วมกันศึกษาวิเคราะห์และดำเนินการวิจัยประเด็นทางความคิดเรื่องความหลากหลายทางวัฒนธรรมใน “ตัวบท” ที่ต่างกัน ใน “บริบท” ที่ต่างกัน เพื่อเปิดเผยให้เห็นการปะทะสังสรรค์ การต่อรอง และการครอบงำของคุณค่าและทัศนคติจากต่างบริบทสังคมวัฒนธรรม… ถกเถียงเรื่องคุณค่า 2: ว่าด้วยความหลากหลายทางวัฒนธรรมเสาวณิต จุลวงศ์ บรรณาธิการสำนักพิมพ์วิภาษา

    READ MORE

  • [Book Re:commendation] China 5.0

    [Book Re:commendation] China 5.0 China 5.0 สะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจ ทั้งในด้านบวกและลบภายใต้สีจิ้นผิง ผู้นำรุ่นที่ 5 ทั้งยังสะท้อนภาพความท้าทายของจีนไฮเทคที่เดินหน้าด้านเทคโนโลยีไปอีกขั้นด้วยความเร็วติดจรวด จากยุค 4.0 คือเทคโนโลยีดิจิทัล ก้าวสู่ยุค 5.0 คือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ซึ่งจะเป็นกุญแจชี้ทิศทางอนาคตของจีน… ไม่ว่าคุณจะทำงานในสาขาใด คุณไม่สามารถเป็นผู้นำในสาขานั้นได้ถ้าไม่มีความเข้าใจเรื่องจีน เพราะโลกยุคใหม่ไม่ใช่โลกของอังกฤษ สหรัฐฯ หรือสหภาพยุโรป แต่เป็น “โลกของจีน”… โลกที่จีนเป็นวิชาบังคับ ไม่ใช่วิชาเลือกอีกต่อไป China 5.0  โดย อาร์ม ตั้งนิรนดรสำนักพิมพ์ Bookscape

    READ MORE

  • [Book Re:commendation]ผู้หญิงสีฟ้า

    โลกนี้หญิงชายเป็นผู้สร้าง แต่ว่าปัญหาอยู่ในการสร้างโลกของแต่ละคนช่างแตกต่างกันไปตามแต่วิธีการของส่วนตัว นี่อาจจะเป็นแนวทางสำคัญของการสร้างสรรค์วรรณกรรมของคุณชมัยภร แสงกระจ่างก็เป็นได้ เพราะคุณชมัยภรมักบอกเสมอว่า “ไม่ชอบเขียนเรื่องแบบเดิม” ดังนั้นมิไยที่บรรณาธิการ นักอ่าน แฟนคลับ จะเรียกร้องว่า “เขียนเรื่องแบบนั้นอีกสิ” “อยากอ่านเรื่องแบบนี้” คุณชมัยภรมักจะตอบว่า “ก็เขียนไปแล้วนี่” … “ผู้หญิงสีฟ้า” เป็นนวนิยายที่เคยเขียนลงเป็นตอนในนิตยสารขวัญเรือน อ่านต้นเรื่องเหมือนจะเป็นเรื่องบู๊ เพราะนางเอกอยู่ในแวดวงสีดำ แต่ด้วยความเป็นนักเขียนแบบชมัยภร ในที่สุด ผู้หญิงสีฟ้า จึงกลับเป็นเรื่องชีวิต ที่ทำให้ผู้อ่านต้องกลับมามองตัวเองอีกครั้ง โดยเฉพาะเรื่องของการสร้างครอบครัว ความใส่ใจ และความไว้ใจต่ออีกฝ่าย ที่สำคัญคือการให้ความสำคัญกับอนาคตมากกว่าการจมปลักกับวังวนของปัญหา …. โลกนี้หญิงชายเป็นผู้สร้างแต่ว่าปัญหาอยู่ที่การสร้างโลกของแต่ละคนช่างแตกต่างกันไปตามแต่วิธีการของส่วนตัว นี่อาจจะเป็นแนวทางสำคัญของการสร้างสรรค์วรรณกรรมของคุณชมัยภร แสงกระจ่าง ก็เป็นได้เพราะคุณชมัยภรมักบอกเสมอว่า “ไม่ชอบเขียนเรื่องแบบเดิม” ปัญหาบางอย่างก็แบบนี้แหละ…เป็นวงซ้อนวงขยายกันไปเรื่อยๆ เราต่างมีโลกส่วนตัว ฉันไม่อยากตอบคำถาม นายไม่ต้องรู้หรอกว่าฉันเป็นใคร…ฉันพอใจแค่นี้แหละ นั่นคือความจริงของชีวิต เขาผงเข้าตา เขานั้นมีผงเข้าตามาตลอดชีวิต ผงแห่งความหลง ผงแห่งโมหะ…. ผู้หญิงสีฟ้าโดย ชมัยภร แสงกระจ่างสำนักพิมพ์คมบาง

    READ MORE

  • [Book Re:commendation] เราต่างเป็นนักออกแบบ

    “เราต่างเป็นนักออกแบบ” เริ่มต้นด้วยเรื่องราวท้องถิ่นและสิ่งที่เกิดขึ้นในทุกวัน กล่าวคือผู้คนในชีวิตประจำวัน ความตั้งใจในการต่อสู้กับปัญหาโอกาสในแต่ละวัน และที่สำคัญที่สุด — ความหมายที่แท้จริงของชีวิต เราเฝ้ามองวิธีที่ผู้คนเหล่านี้ค้นพบพลังของความร่วมมือเพื่อเพิ่มความสามารถของพวกเขาและบ่อยครั้งวิธีการที่ค้นพบนี้ ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มรูปแบบใหม่ (องค์กรประสานความร่วมมือ) และสิ่งประดิษฐ์ ที่องค์กรเหล่านี้ใช้เป็นพื้นฐานเพื่อเอื้ออำนวยต่อการแก้ไขปัญหา และนักออกแบบก็เป็นส่วนที่แข็งขันของการค้นพบใหม่นี้… หนังสือเล่มนี้ ได้ให้ความชัดเจนต่อการริเริ่มต่างๆ มากมาย ทั้งก่อนและหลังกระแส “ร่วมออกแบบร่วมสร้างสรรค์” (Co-design Co-creation) โดยสรุปคือการออกแบบโครงการชีวิตของผู้คนหรือองค์กร การออกแบบสำหรับโลกที่แท้จริงนี้จึงมากกว่าการออกแบบวัสดุเพื่อป้อนสู่อุตสาหกรรมและการพาณิชย์ แต่คือการเข้ามาสู่ปริมณฑลแห่งชีวิตสังคม และนักออกแบบทั้งสมัครเล่นเช่นคนทั่วไปและนักออกแบบมืออาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญจะประสานความร่วมมือกัน…. เราต่างเป็นนักออกแบบ โดย เอซิโอ มานซินี่ แปลโดย เจริญเกียรติ ธนสุขถาวร สำนักพิมพ์ อินี่ บุ๊คส์

    READ MORE

  • โครงการ Human ร้าย , Human Wrong

    Human ร้าย, Human Wrong Workshopเป็นกิจกรรมฝึกปฏิบัติการและกระบวนการสร้างสรรค์ชิ้นงานศิลปะ เพื่อฝึกฝนทักษะศิลปะและการคิดเชิงวิพากษ์แก่ผู้เข้าร่วมโครงการที่ผ่านการคัดเลือกภายใต้การฝึกปฏิบัติการเหล่านี้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทำความรู้จักและเรียนรู้วิธีการสื่อสารสาธารณะผ่านงานศิลปะแนวคิดเกี่ยวกับศิลปะร่วมสมัยการใช้เสียงและพื้นที่ในงานศิลปะการตีความและถ่ายทอดข้อความที่จะสื่อสารรวมไปถึงการทำความเข้าใจประเด็นสิทธิมนุษยชนและการถกเถียงอย่างมีเหตุผลด้วยวิธีคิดเชิงวิพากษ์ รายละเอียดโครงการ Human ร้าย Human Wrong 2017 Human ร้าย Human Wrong 2018 Human ร้าย Human Wrong 2019

    READ MORE

  • ห้องเรียนดีเบต

    ห้องเรียนดีเบต : Debate workshop “ห้องเรียนดีเบต” คือโครงการฝึกปฏิบัติการการคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) และกระบวนการถกเถียงบนฐานของเหตุผลสุดเข้มข้น ที่มุ่งพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของคนรุ่นใหม่ในการเรียนรู้และทำความเข้าใจสังคม ผ่านการตั้งประเด็น ปัญหาที่เกิดขั้นในชีวิตประจำวัน นำมาตีความ ถกเถียง และหาข้อเสนอใหม่ๆ ห้องเรียนดีเบต  1 ปี 2013 ห้องเรียนดีเบต 2  ปี 2016

    READ MORE

  • [Book Re:commendation] ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไทย: สาวรกรากต้นตอ คนไท ชุมชนไท-ลาว และความเป็นไท/ไต/ไทย/สยาม

    หากความตื่นใจทางวิชาการในงานของ “จิตร ภูมิศักดิ์”เรื่อง “ความเป็นมาของคำสยาม ไทย ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ”เมื่อกึ่งศตวรรษก่อนนั้นยังคงฝังรากฝังรอยอยู่ วันนี้ อาจารย์ชลธิรา สัตยาวัฒนา ได้ต่อรากนั้นให้งอกออกไปในชื่อ “สาวรกรากต้นตอ คนไท ชุมชนไท-ลาว และความเป็นไท/ไต/ไทย/สยาม” ถ้านักสืบสมัยใหม่ไม่เคยละเลยแม้แต่ละอองไอจากรอยนิ้วมือ นักโบราณคดีไม่เคยเลยที่จะละเลยเศษภาชนะแตก นักดนตรีย่อมไม่ฟังข้ามเสียงเบี้ยวแม้แต่เสี้ยวโน้ต วิธีวิทยาแบบ Generative Anthropology ก็ไม่ยอมละเลยทุกอย่างที่เป็นผลมาจากการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ โดยไม่มองว่าสิ่งใดที่ฝั่งอยู่ในจิตใต้สำนึกเป็นเรื่องไร้ค่าทางวิชาการ “ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไทย: สาวรกรากต้นตอ คนไท ชุมชนไท-ลาว และความเป็นไท/ไต/ไทย/สยาม” เล่มนี้ ได้สาธิตให้เห็นถึงความใส่ใจกับถ้อยคำเล็กๆ แม้แต่เสียงของคำที่เลื่อนไป สาธิตให้เห็นถึงความใส่ใจกับรูปรอยเล็กๆ แม้จะเลือนราง สาธิตให้เห็นถึงความใส่ใจกับท่าทีและเสี้ยวอารมณ์แม้จะวูบผ่าน จนทำให้เห็นเป็นระเบียบวิธีอีกทางหนึ่งในนาม Generative Anthropology และได้ผลการศึกษาที่ส่งเสียงบอกเล่าให้รู้เช่นเห็นชาติถึงความเป็นคนไท/ไต/ไทย/สยาม ที่สืบทอดผ่านพื้นที่และเวลามาได้อย่างพิศวง ด้ำ แถน กำเนิดรัฐไทย: สาวรกรากต้นตอ คนไท ชุมชนไท-ลาว และความเป็นไท/ไต/ไทย/สยาม โดย ชลธิรา สัตยาวัฒนา บรรณาธิการ ทองแถม นาถจำนง…

    READ MORE

  • [Book Re:commendation] ประวัติศาสตร์สำเหนียก

    เผด็จการไม่เพียงจะควบคุมอำนาจทางการเมืองของประชาชน หากแต่ยังมุ่งเข้าไปควบคุมความทรงจำ ยึดพื้นที่ความทรงจำเดิม สร้างความรับรู้ใหม่ต่อเรื่องราวและผู้คน วางพิมพ์เขียวของการเขียนอดีต – สร้างประวัติศาสตร์เพื่อควบคุมกาลเวลาให้อยู่ในมือพวกเขาตลอดมา โดยเฉพาะในช่วงที่รัฐมีอำนาจส่วนกลางเข้มแข็ง หรือต้องการจะสร้างความเข้มแข็งและเสถียรภาพ เพราะการเล่าและเขียนประวัติศาสตร์เป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งเพื่อเสริมสร้างอำนาจให้มั่นคง….. ในทางกลับกัน “ประวัติศาสตร์” เป็นอาวุธหนึ่งที่ถูกนำมาใช้วิพากษ์ เปิดโปง และชี้ให้เห็นถึงความไม่ชอบมาพากลของการกระทำในอดีตของผู้ที่ไม่น่าไว้วางใจ ทั้งที่เคยกุมอำนาจนั้น หรือยังคงอยู่ในอำนาจเสมอมา คัดง้างกับประวัติศาสตร์กระแสหลักด้วยประวัติศาสตร์อีกชุดหนึ่งจากมวลชน ในช่วงหลังมานี้การเขียนประวัติศาสตร์เพื่อวิพากษ์ให้เห็นปัญหามีมากขึ้น ประวัติศาสตร์ไทยในมือนักประวัติศาสตร์ยุคหลัง จึงไม่ใช่การอวดโอ่มถึงมหาอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ไพศาลอันอุดมสมบูรณ์อีกต่อไป…. “ประวัติศาสตร์สำเหนียก” คือหนังสือรวมข้อเขียนที่จะพาคุณไปสอดส่องทำความเข้าใจยุคสมัยและการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการเขียนประวัติศาสตร์ ความรู้สึกและสำนึกต่ออดีต ตลอดจนการหวนมาวิพากษ์บุคคลในประวัติศาสตร์ที่ถูกจดจำเพียงแต่ในภาพของการถูกยกย่องสรรเสริญ เพื่อแสดงให้เห็นบทบาทและอำนาจของประวัติศาสตร์ที่มีผลต่อสังคมการเมืองไทยในแวดวงต่างๆ….. . . ประวัติศาสตร์สำเหนียก โดย ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ สำนักพิมพ์มติชน 

    READ MORE

บทความ ห้องเรียน Human ร้าย Human wrong