[Book Re:commendation] “ผัวเดียว เมีย…เดียว: อาณานิคมครอบครัวในสยาม”

“ถ้าให้มีเมียเดียว ประเทศของเรายังไม่พร้อม จักทำให้คนเดือดร้อน….” —- ข้อความบางส่วนจากพระราชดำรัส สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ณ ที่ประชุมเสนาบดีสภาเมื่อคราวลงมติเรื่องกฎหมายครอบครัว.. ช่วงระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ชนชั้นปกครองสยามมองว่า “ผัวเดียวเมียเดียว” คือ “ของนอก” ที่จะก่อปัญหานานัปการ จึงรักษาจารีต “ผัวเดียวหลายเมีย” ไว้ท่ามกลางแรงกดดันจากตะวันตกและความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยที่ผลักดันให้ผู้คนออกมาวิจารณ์ปัญหาเพศสภาพ เพศวิถี และความไม่เท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงในที่สุด ก่อนที่ “ผัวเดียวเมียเดียว” จะกลายเป็นวัฒนธรรมที่ยอมรับกันในปัจจุบัน…….“ผัวเดียว เมีย…เดียว: อาณานิคมครอบครัวในสยาม” เล่มนี้จะพาเราไปเสาะสำรวจการเข้ามาของวัฒนธรรมผัวเดียวเมียเดียวในไทย การตอบโต้และตอบรับต่อวัฒนธรรมดังกล่าว สายธารความเปลี่ยนแปลงของกฎหมายและบทสรุปว่าด้วยรูปแบบครอบครัว รวมไปถึงการประดิษฐ์สร้าง “ผัวเดียวเมียเดียวแห่งชาติ” ครอบครัวภายใต้โครงการรณรงค์ทางวัฒนธรรม ผัวเดียว เมีย…เดียว: อาณานิคมครอบครัวในสยามโดย สุรเชษฐ์ สุขลาภกิจสำนักพิมพ์มติชน

[Book Re:commendation] นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง

“เมื่อพิจารณาถึงความผันแปรของบทบัญญัติในหมวดพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับ รวมไปถึงข้อถกเถียงต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างการประชุมก็ไม่อาจปฏิเสธถึงความเป็น “การเมือง” ในบทบัญญัติเหล่านี้ได้ หรือแม้กระทั่งอาจกล่าวได้ว่าพลังอำนาจของอุดมการณ์หรือแนวคิดทางการเมืองแห่งยุคสมัยมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าหลักวิชาในการจัดวางสถาบันพระมหากษัตริย์ในรัฐธรรมนูญของไทย”———————————–สมชาย ปรีชาศิลปกุล “นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง: ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญไทย ตั้งแต่พ.ศ. 2475-2550” เล่มนี้ ไม่เพียงแต่เข้าไป “อ่าน” รายงานการประชุมสภา/กรรมาธิการ เพื่อให้เห็นการอภิปรายและไม่อภิปรายเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ตลอดเวลา 75 ปี แต่ยังชี้ให้เห็นถึงการต่อสู้ทางการเมืองที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่การปฏิวัติสยาม 24 มิถุนายน 2475 มาจนถึงปัจจุบัน….———————————–สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน นี่คือปณิธานที่หาญมุ่ง: ข้อถกเถียงว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยในองค์กรจัดทำรัฐธรรมนูญไทย ตั้งแต่พ.ศ. 2475-2550โดย สมชาย ปรีชาศิลปกุลสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน

[Book Re:commendation]หลังเขตเศรษฐกิจพิเศษ

เขตเศรษฐกิจพิเศษ มักถูกนิยามโดยนักวางแผนทางนโยบายและองค์กรระหว่างประเทศ ในฐานะที่เป็นพื้นที่เศรษฐกิจทั้งในเชิงกายภาพและเชิงกฎหมายที่ถูกสร้างขึ้นโดยรัฐภายในขอบเขตเฉพาะหนึ่งๆ เพื่อเป้าประสงค์ในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้วยระบอบการควบคุมกำกับที่แตกต่างไปจากระเบียบทางเศรษฐกิจที่ใช้ในที่อื่นๆ ของประเทศ และนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา เขตเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบต่างๆ ได้กลายเป็นยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วในประเทศกำลังพัฒนาต่างๆ ทั้งในเอเชีย ลาตินอเมริกา แคริบเบียนและอัฟริกา…. เล่มนี้ จะพาเราไปสอดส่องเรื่องราวว่าด้วยรูปแบบและกลไกของเขตเศรษฐกิจพิเศษของแต่ละรัฐ/ ประเทศ ทั้งในแง่ของจุดกำเนิด พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ผลกระทบ เงื่อนไขความสำเร็จ และความล้มเหลว โดยเชื่อมโยงกับบริบททางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง และชี้ให้เห็นว่า พลวัตของเขตเศรษฐกิจพิเศษนั้นมีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่ซับซ้อนมากกว่าปัจจัยด้านประสิทธิภาพและความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดังที่นักเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเข้าใจ หากแต่ยังงครอบคลุมไปถึงการก่อตัวของรัฐและทุนท้องถิ่น การกำกับและควบคุมของอำนาจรัฐ การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ การสูญเสียที่ดิน และปัญหาการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ฯลฯ  หลังเขตเศรษฐกิจพิเศษโดย ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรีคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จำนวนหน้า 271 หน้า

[Book Re:commendation] “Limology: ชายแดนศึกษา กับเขต-ขันธ์วิทยาของพื้นที่/ระหว่าง

“สภาวะลักลั่นไม่ลงรอยภายในระหว่างสิ่งที่เรียกว่า “รัฐ” และ “ชาติ” เป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงยังควรรักษาเครื่องหมายยัติภังค์ (-) ที่คั่นอยู่ระหว่างสองคำนี้ นั่นคือ รัฐ-ชาติ หรือ nation-state ในภาษาอังกฤษ เพื่อบ่งชี้ว่า “รัฐ” กับ “ชาติ” นั้น แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่มักถูกจับให้ดำเนินควบคู่กันไปในการศึกษารัฐศาสตร์และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หากแต่ก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่เทียบแทนกันได้อย่างสนิทแนบแน่น และสามารถเป็นภาพสะท้อนของกันและกันได้….. เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ความน่าสนใจของการศึกษาสังคมการเมืองสมัยใหม่ จึงไม่ควรจำกัดอยู่ที่การศึกษา “รัฐ-ชาติ” หรือ “รัฐ” กับ “ชาติ” เท่านั้น หากแต่อยู่ที่การให้ความสำคัญกับการศึกษาทำความเข้าใจเครื่องหมายยัติภังค์ หรือความสัมพันธ์ที่ลักลั่นระหว่างสองสิ่ง ที่นับวันจะแสดงออกมาให้เห็นเด่นชัดมากขึ้นทุกที……” ———–บางส่วนจาก บทนำ เขต-ขันธ์วิทยา: ว่าด้วยสิ่งนั้นของพรมแดน, หน้า 10-11..“Limology: ชายแดนศึกษา กับเขต-ขันธ์วิทยาของพื้นที่/ระหว่าง” เล่มนี้ มุ่งชี้ให้เห็นว่า การขีดเส้นแบ่งใดๆ มักมาพร้อมกับการสร้างความเป็นเราและสร้างความเป็นเขา หรือความเป็นอื่นของสิ่งที่มีอยู่ในและนอกอาณาเขตที่กำหนดขึ้นมา พูดให้ชัดคือ กระบวนการจัดการพื้นที่นั้นเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปพร้อมๆ กับการจัดการทางสังคมอย่างเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการสร้างสังคมและการสร้างกลุ่มก้อนให้เป็นหนึ่งเดียวที่มักถูกทำให้แยกออกจากสังคมอื่นที่อยู่นอกบริเวณที่ถูดขีดขึ้นนั้น แม้ว่าจะเป็นสิ่งที่มักดำเนินไปด้วยกันเสมอ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าความสัมพันธ์ที่ซ้อนทันกันสนิทและมีลักษณะสถิตตายตัว……. “Limology: ชายแดนศึกษา กับเขต-ขันธ์วิทยาของพื้นที่/ระหว่างโดย จักกริช […]

[Book Re:commendation] อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด

หากอดีตไม่อาจหวนคืนได้อีก อัตลักษณ์แบบไหนเล่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ไม่เป็นทั้งปฏิกิริยา ยอมรับความแตกต่าง ขณะเดียวกันก็หยิบยื่นความผูกพันปักรากกับชุมชนในลักษณะใหม่ได้ ในแง่นี้ การยอมรับความหมายของอัตลักษณ์ในฐานะของ “กระบวนการ” แทนที่สิ่งที่เป็นคุณสมบัติและหยุดนิ่งตายตัว จะช่วยให้เราตระหนักถึงข้อจำกัดและอันตรายของ “ขอบเขต” การนิยามที่กั้นเราออกจากคนอื่น หากเราเปลี่ยนมาเน้นที่ความเคลื่อนไหวและปฏิสัมพันธ์แทน อาจช่วยให้เราสามารถหลุดจากการมองหาเส้นกั้นขอบเขตของอัตลักษณ์และไม่มองว่าการรุกล้ำจากภายนอกหรือความแตกต่างเป็นภัยคุกคาม……… “อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด” เล่มนี้ คือการหยิบยกแนวคิดว่าด้วยอัตลักษณ์มาทบทวนและชวนให้คิดจากมุมมองที่ต่างกัน ผ่านการสำรวจพัฒนาการของแนวความคิดในกรอบของทฤษฎีต่างๆ ในช่วงปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์จากสมัยใหม่นิยมมาเป็นหลังสมัยใหม่นิยม และเชื่อมโยงจุดเน้นใน 3 มิติ ทั้งเพศภาวะ ความเคลื่อนไหวทางชาติพันธุ์และศาสนาอย่างครอบคลุม…..  อัตลักษณ์ การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิดโดย อภิญญา เฟื่องฟูสกุลคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

[Book Re:commendation]การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียน

รอยเชื่อมต่อระหว่างความเป็นสมัยใหม่และหลังสมัยใหม่ เป็นการอนุวัฒน์ของโลกที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดระเบียบการเมืองทั้งในและระหว่างประเทศในยุคปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้น สภาวการณ์ดังกล่าวได้รังสรรค์การเปลี่ยนแปลงที่สร้างข้อท้าทายและบ่อนเซาะความรู้สึกนึกคิดต่อระบบความรู้และการปฏิบัติการของรัฐที่มีต่อพลเมือง ทั้งยังนำมาสู่ความเปลี่ยนแปลงและข้อท้าทายใหม่ๆ ในพื้นที่ทางการศึกษา…… “การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียน” เล่มนี้ มุ่งสร้างพื้นที่ทางความคิดและข้อถกเถียงสู่ชุมชนวิชาการ นักการศึกษาและครู ให้ทำความเข้าใจกับความคิดและทิศทางสำคัญในการจัดการศึกษาท่ามกลางช่วงรอยเชื่อมต่อของสองศตวรรษข้างต้น ผ่านการนำเสนอแนวคิดทฤษฎีว่าด้วยการศึกษาพหุวัฒนธรรมในเชิงวิพากษ์ ซึ่งจะช่วยเปิดพื้นที่ใหม่ๆ ให้กับการศึกษาวิจัยด้านการศึกษาพหุวัฒนธรรมและเพื่อสนับสนุนให้การศึกษาได้มีส่วนช่วยขับเคลื่อนสังคมให้หลุดพ้นออกจากกับดักของความเหลื่อมล้ำได้อย่างแท้จริง…….. การศึกษาพหุวัฒนธรรม: มุมมองเชิงวิพากษ์และการปฏิบัติการในโรงเรียนโดย นงเยาว์ เนาวรัตน์คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

[Book Re:commendation] ผีกับพุทธ การผสมผสานทางความเชื่อ

ในยุคที่เทคโนโลยีเสกสรรสรรพสิ่งได้สุดจินตนาการ “ผี” หรือ “วิญญาณ” ถูกนิยามว่าเป็นเพียงพลังงานรูปแบบหนึ่ง แม้ว่าส่วนลึกในจิตใจของผู้คนหลายกลุ่ม “ผี” ยังคงทำให้เกิดพฤติกรรม “ไม่เชื่ออย่าลบหลู่” เช่นกันในความรู้สึกและความเชื่อตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน “ผี” ไม่เพียงแต่เป็นปรากฏการณ์ที่ชวนให้สยดสยอง ลี้ลับเท่านั้น แต่ยังบงการวิถีชีวิตและก่อเกิดเป็นประเพณีที่เคียงคู่หลายชุมชนนานนับศตวรรษ และสังคมไทยทุกวันนี้ก็ไม่อาจสลัดทิ้ง “ผี” ให้พ้นจากวิถีชีวิตประจำวันได้ หนังสือ “ผีกับพุทธ การผสมผสานทางความเชื่อ” เล่มนี้ มุ่งอธิบายถึงพัฒนาการของคติความเชื่อและตำนานของผีหรือพลังลี้ลับเหนือธรรมชาติทั้งในวัฒนธรรมตะวันออกและตะวันตก โดยที่ผีเหล่านี้ยังคงวนเวียนในความคิด ความเชื่อของผู้คนทั่วไปจนถึงบัดนี้ พร้อมทั้งอธิบายมูลเหตุที่มาของ “ผี” ทั้งในแง่ความเชื่อ ไสยศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และในฐานะเครื่องมือควบคุมทางสังคม……. ผีกับพุทธ การผสมผสานทางความเชื่อโดย ธีระพงษ์ มีไธสงสำนักพิมพ์อินทนิล

[Book Re:commendation] อัตลักษณ์เอกสาร: วงศาวิทยาการควบคุมประชากรของรัฐไทย

การก่อร่างสร้างความเป็นรัฐชาติสมัยใหม่ของสยามในช่วงเปลี่ยนผ่านของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ไม่เพียงได้สร้างภูมิกายาชนิดใหม่ขึ้นมาเพื่อบ่งบอกถึงความเป็นชาติที่ผูกโยงกับดินแดนผ่านเทคโนโลยีแผนที่เท่านั้น หากแต่ยังได้สร้าง “อัตลักษณ์เอกสาร” ให้กับประชากร เพื่อนิยามปริมณฑลของความเป็นพลเมืองเสียใหม่ผ่านวัตถุประดิษฐ์ในการระบุตัวตน และเช่นเดียวกับแผนที่ วัตถุเอกสารและการบันทึกราชการได้ช่วยทำให้รัฐไทยสามารถแปลงมโนทัศน์อันเป็นนามธรรมว่าด้วยชาติและพลเมืองให้กลายเป็นตัวตนรูปธรรมที่จับต้องได้ และดังนั้นจึงสามารถแยกความเป็นพลเมืองกับความเป็นอื่นออกจากกันได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด….. “อัตลักษณ์เอกสาร: วงศาวิทยาการควบคุมประชากรของรัฐไทย” เล่มนี้ เป็นการศึกษาวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างศิลปะแห่งการปกครองของรัฐ (statecraft) การสร้างรัฐชาติ และการสร้างอัตลักษณ์ประชากรผ่านวัตถุเอกสารของราชการอย่างบัตรประจำตัวประชาชนซึ่งเป็นตัวแทนของประวัติศาสตร์การเขียนพลเมือง ตลอดจนอัตลักษณ์เอกสารของชนผู้เป็นอื่นของรัฐไทย….. อัตลักษณ์เอกสาร: วงศาวิทยาการควบคุมประชากรของรัฐไทยโดย ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

[Book Re:commendation] เถียงกันเรื่องแท้ง: สุขภาพ เสรีภาพ ศีลธรรม

แง่มุมต่างๆ ของเพศสภาพและเพศวิถี เช่น เรื่องเพศ ความสัมพันธ์ การแต่งงาน และการเจริญพันธุ์ ถูกมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัวที่คนเลือกทำหรือไม่ทำได้ตามความต้องการ แต่ความพึงพอใจและการเลือกเหล่านั้นถูกจำกัดและกำกับโดยกรอบกติกาว่าด้วยเรื่องเพศในชุมชนทางการเมืองที่เธอและเขาดำรงอยู่ เกณฑ์ความถูกต้องเหมาะควรนี้ได้กลายเป็นฐานของกฎหมายและนโยบายของรัฐ ที่อนุญาต/ รับรอง/ คุ้มครอง/ ห้าม/ ลงโทษการแสดงออกและวิถีชีวิต ทำให้การเจริญพันธุ์ในหลายสถานการณ์กลายเป็นความไม่ถูกต้องหรือยากลำบาก…. “เถียงกันเรื่องแท้ง” เล่มนี้ คือหนังสือที่จะพาคุณไปทำความรู้จักแนวคิดว่าด้วยการควบคุมกำกับการเจริญพันธุ์และเพศวิถี การต่อสู้ทางการเมืองในการกำหนดกติกาที่จำกัดหรือเพิ่มพูนความสามารถของคนในการเลือกทางเลือกของชีวิต และเส้นทางการโต้เถียงและผลักดันนโยบายของรัฐ ขณะเดียวกันก็จะช่วยให้คุณได้ยินเสียงของผู้หญิงมากมายที่เผชิญสถานการณ์ท้องไม่พร้อมและการจัดการกับความทุกข์ อันเนื่องมาจากการตีตราประณามและการละเมิดข้อห้ามเรื่องเพศในสังคม….. เถียงกันเรื่องแท้ง: สุขภาพ เสรีภาพ ศีลธรรมโดย ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์โครงการจัดพิมพ์คบไฟ

[Book Re:commendation] สีสันพหุวัฒนธรรมบนรอยทาง อาเซียน-สหภาพยุโรป-เอเชีย

รวมบทความบอกเล่าเรื่องราวจากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในหลายประเทศทั้งในอาเซียน เอเชีย และสหภาพยุโรปของนักเขียนมืออาชีพ นักวิชาการหลากหลายสาขา…. ภาค 1 : สีสันพหุวัฒนธรรมบนรอยทางอาเซียน– อุษาคเนย์/อาเซียนกับพหุวัฒนธรรมในโลกมิวเซียมไทเป : มรกต ไมยเออร์– ริมน้ำคาน ณ หลวงพระบาง : สุธิดา ตันเลิศ– ดินแดนเชียงขวางกับภูช้าง : สุธิกา ตันเลิศ– หวยลาว : หวย (เพื่อการ) พัดทะนา : ประชิตพร โภคมณี– หมี่เซิ่น : โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์ของนเผ่าจาม : นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว– เมล็ดข้าวที่หายไปจากแผ่นดินพม่า-ไทย : นิพัทธ์พร เพ็งแก้ว– มิงกะลาบามะละแหม่งแห่งเมียนมา : เรณู เหมือนจันทร์เชย– สีหาสนบัลลังก์ : สัญลักษณ์แห่งอำนาจของราชสำนักพม่ากับชะตากรรมในประวัติศาสตร์ : สิทธิพร เนตรนิยม– ผีเฝ้ากำแพงเมืองพม่าและไทย : สิทธิพร เนตรนิยมฯลฯ ภาค 2 […]