Tag: ถอดบทเรียนHumanร้าย

Human ร้าย Human Wrong 5 The Team Making Change 2022

Human ร้าย Human Wrong 5 The Team Making Change จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อสรุปสิ่งที่ สมาชิก Human ร้าย ปีที่5 ทั้ง 3 ทีม ได้ทดลองทำงานรณรงค์บนพื้นที่สาธารณะ ตลอดระยะเวลา เกือบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่มีนาคม-สิงหาคม 2022) ในพื้นที่สาธารณะทั่วตัวเมืองเชียงใหม่

เปิดห้องเรียน Human ร้าย Human Wrong : “ผัสสะ” เครื่องมือการรับ(เรียน)รู้สังคมและวัฒนธรรม

บันทึกบทเรียนจากห้องเรียน ร้าย, Human Wrong 4 การเรียนรู้ครั้งใหม่ของพวกเราชาว Human ร้าย Human Wrong รุ่นที่ 4 เริ่มขึ้นในช่วงท้ายปี 2020 ปีแห่งการค้นหา และสัมผัส ‘ความเป็นมนุษย์’ ยังคงเป็นหัวใจหลักการเรียนรู้ของพวกเรา ในสังคมที่ทุกอย่างขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูลข่าวสารจากผู้คนมากมายไหล่บ่าเข้ามาปะทะเราตลอดเวลา ผัสสะการรับรู้แห่งยุคสมัยถูกทำให้โฟกัสอยู่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ด้วยเทคโนโลยีต่างๆรอบตัว จนอดที่จะตั้งคำถามไม่ได้ว่า เราหลงลืมความละเอียดละออของ ‘ผัสสะ’

บันทึกการเดินทาง เชียงใหม่ – อุบลฯ และสนามทดลองทางศิลปะครั้งใหม่ Human ร้าย Human , Wrong – Ubon Agenda วาระวาริน 2020

ในวันที่ 21 พฤศจิกายน 2020 ที่ผ่านมา พวกเรา Human ร้าย Human Wrong ได้มีโอกาสร่วมแสดงงานศิลปะในงาน Ubon Agenda 2020 วาระวาริน (งานจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 21-30 พฤษจิกายน) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการที่จัดต่อเนื่องมาจากงาน  Khon Kaen Manifesto 2018 ที่จังหวัดขอนแก่น ซึ่งใช้แนวคิดการสร้างพื้นที่ปฏิบัติการทางศิลปะ

Human is born with Human Rights…ทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมกันกับสิทธิมนุษยชน

Human is born with Human Rights…ทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมกันกับสิทธิมนุษยชน Human ร้าย, Human Wrong ปูพื้นฐาน สร้างความเข้าใจประเด็น สิทธิมนุษยชน แม้จะเป็นเรื่องที่ดูซับซ้อนไปเสียหน่อยในการกล่าวถึงประเด็นเรื่อง “สิทธิ” ในประเทศไทยว่าอำนาจที่ปัจเจกมีสิทธิในการเลือกใช้ชีวิตตามใจของตัวเองนั้นต้องเป็นไปอย่างไร  คำว่า ‘ตามใจ’ นั้นมีขอบเขตอยู่ตรงไหนในฐานะมนุษย์และพลเมือง คำว่า ‘สิทธิ’ และ ‘สิทธิมนุษยชน’ มีความสำคัญอย่างมากต่อการใช้ชีวิตในวันธรรมดาๆ ของเราเองเพราะมันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือก

เมื่อความหวังฝากไว้กับการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ : โจ้ Human ร้าย 1

ในเวลานี้จะเห็นได้ว่าเยาวชนมีส่วนขับเคลื่อนกระบวนการการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ และกล้าที่จะออกมาส่งเสียงถึงผู้ใหญ่ที่ยังควบคุมอำนาจอย่างไม่เป็นธรรม สถานการณ์ในเวลานี้เหมือนเป็นสิ่งยืนยันเราได้ว่า ความคิดแบบอนุรักษ์นิยมของคนรุ่นเก่า การบังคับใช้อำนาจที่ทำให้เด็กกลัว มันไม่ได้ผลอีกต่อไป เมื่อคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และเข้าใจสิทธิของตนเอง และความเท่าเทียมของคนในสังคมมากขึ้น แบบสอบถามพิเศษของเหล่าสมาชิก Humanร้าย ตั้งแต่รุ่นที่1 จนถึงรุ่นที่3 ในประเด็นที่พวกเขาต้องการแสดงออกและเป็นกระบอกเสียงของคนรุ่นใหม่ในการมองปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันสำคัญของสังคมที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น “โจ้” หนึ่งในสมาชิก Humanร้ายรุ่นที่ 1 กับผลงานแนวคิดอันแสนคมคายกับการตั้งคำถามต่อเสียงเพลงที่สอดแทรกมายาคติต่อคำว่า”รักชาติ” “โจ้” Creative Director ที่ SHIFTER หนึ่งในสมาชิก

เมื่อความหวังฝากไว้กับการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ : เต็ม Human ร้าย 1

ในช่วงเวลานี้ ประเด็นสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปี 2563 ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า เยาวชนและคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาททางการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางการเมืองเป็นอย่างมากกว่าแต่เดิมที่เยาวชน คนรุ่นใหม่เกิดความกลัวและรู้สึกว่าการเมืองนั้นเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในเวลานี้เวทีการแสดงออกของเยาวชนเปิดกว้างเป็นอย่างมากและสิ่งที่น่าสนใจคือการหากลวิธีในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ที่น่าจับตามอง แบบสอบถามพิเศษของเหล่าสมาชิก Humanร้าย ตั้งแต่รุ่นที่1 จนถึงรุ่นที่3 ในประเด็นที่พวกเขาต้องการแสดงออกและเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงของคนรุ่นใหม่ในการมองปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันสำคัญของสังคมที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น “เต็ม” นักศึกษาจบใหม่ตอนนี้ทำงานด้านสถาปนิกหนึ่งในสมาชิก Humanร้ายรุ่นที่ 1 ซึ่งเคยฝากผลงานวิพกาษ์ความเพิกเฉยต่อปัญหาของคนในสังคม “เต็ม” ปัจจุบันทำงานด้านสถาปนิก หนึ่งในสมาชิก Humanร้ายรุ่นที่ 1 Q :

เมื่อความหวังฝากไว้กับการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ : เอิร์ก Human ร้าย 3

ในช่วงเวลานี้ ประเด็นสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปี 2563 ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า เยาวชนและคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาททางการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางการเมืองเป็นอย่างมากกว่าแต่เดิมที่เยาวชน คนรุ่นใหม่เกิดความกลัวและรู้สึกว่าการเมืองนั้นเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในเวลานี้เวทีการแสดงออกของเยาวชนเปิดกว้างเป็นอย่างมากและสิ่งที่น่าสนใจคือการหากลวิธีในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ที่น่าจับตามอง บทสัมภาษณ์ พิเศษของเหล่าสมาชิก Humanร้าย ตั้งแต่รุ่นที่1 จนถึงรุ่นที่3 ในประเด็นที่พวกเขาต้องการแสดงออกและเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงของคนรุ่นใหม่ในการมองปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันสำคัญของสังคมที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น “เอิร์ก” นักศึกษาจากคณะสื่อสารมวลชน ปีที่2 หนึ่งในสมาชิก Humanร้ายรุ่นที่ 3 ที่ฝากผลงานการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนตาบอดในสังคมที่คนพิการถูกละเลยจากรัฐ “เอิร์ก” นักศึกษาจากคณะสื่อสารมวลชน ปีที่2 หนึ่งในสมาชิก

เปิดห้องเรียน Human ร้าย Human Wrong : ความทรงจำ.pain point.ความรู้ สู่งานเขียน

โตมร ศุขปรีชา และ workshop การเขียนด้วยการใช้ผัสสะ รวมถึง pain point ส่วนบุคคล ดึงความบอบช้ำออกมาเพื่อเปลี่ยนมันให้เป็นรูปแบบเขียนที่หลากหลาย คราฟต์ตัวอักษรอย่างไรท่ามกลางยุคสมัยที่มิลเลนเนียลส์ต้องทำงานหนัก(ทั้งทางกายและทางความคิด) หากต้องเขียน สิ่งที่เขียนจะช่วยชีวิตเราไว้ในแง่สุนทรียศาสตร์และในแง่การเรียนรู้ตัวเองได้อย่างไร ไปไกลถึงการพลังในการเขียนเพื่อวิพากษ์ ใส่เสน่ห์ ปรุงยาเพื่อพาให้ผู้อ่านเกิดการสั่นไหวทางความคิด

เปิดห้องเรียน Human ร้าย Human Wrong : Activist art ศิลปะแห่งการต่อสู้- ไม่มีอะไรช่วยคนดูศิลปะได้นอกจากการดู

Activist art ศิลปะแห่งการต่อสู้- ไม่มีอะไรช่วยคนดูศิลปะได้นอกจากการดู Human ร้าย, Human Wrong 3  workshop ครั้งที่ 2 : ความรู้พื้นฐานศิลปะกับสิทธิมนุษยชน ซาเรียใช้นิ้วมือวาดภาพเหล่านั้น บางภาพมีความยาวมากกว่า 10 ฟุตเพื่อสื่อสารการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งความโกลาหลและความนิ่งสงบของภูมิทัศน์ เพื่อให้คนดูเกิดอารมณ์ความรู้สึกแม้ว่าจะไม่เคยเดินทางไปยังสถานที่เหล่านั้นเลย ภาพวาดของเธอจึงขับเน้นความงามมากกว่าความหายนะที่กำลังจะเกิดขึ้นกับโลกเพื่อสร้างความรู้สึกอยากปกป้อง สุนทรียศาสตร์จากศิลปะสามารถสร้างพลังที่จะทำให้เรามองเห็นซึ่งกันและกันแม้ว่ารูปแบบของมันจะหลากหลายไปตามบริบทสังคมและยุคสมัย งาน activist ที่ใช้กระบวนทางศิลปะเป็นสื่อกับงานศิลปะที่สื่อสารประเด็นแบบ activist

เปิดห้องเรียน Human ร้าย Human Wrong : ศิลปะกับสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องเดียวกันได้อย่างไร

“ศิลปะยังมีน้ำยาอยู่ไหม”, “ถ้าคุณทำงานศิลปะแต่คนดูไม่รู้เรื่อง ประเด็นสังคมที่ต้องการเรียกร้องมันจะมีความหมายอะไรไหม”, “การที่ศิลปินเอาเรื่องราวของผู้ที่อยู่ท่ามกลางความขัดแย้งมาทำงานเป็นการฉกฉวยผลประโยชน์หรือเปล่า”