‘ทุนนิยมเจ้า‘ ทุนนิยมใต้ร่มบรมโภธิสมภาร
‘ทุนนิยมเจ้า‘ ทุนนิยมใต้ร่มบรมโภธิสมภาร
‘แสงสว่าง ปัญญา และการลงทัณฑ์ฯ’
คนโง่เท่านั้นที่เชื่อว่าจะห้ามความคิดของมนุษย์ได้
“…การศึกษาประวัติศาสตร์ว่า การเขียนประวัติศาสตร์เพื่อรับใช้รัฐประชาชาติ และสถาบันกษัตริย์อันเป็นสถาบันที่เพิ่งเกิดขึ้น และสถาบันที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลาดเวลา ล้วนเป็นเหตุให้การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์พลาดจากความเป็นจริงหรือมิฉะนั้นก็ตื้นเขิน…”
ความเป็นรัฐประชาชาติของไทยปัจจุบันเข้มแข็งพอที่จะไม่ต้องสร้างประวัติศาสตร์มาค้ำชูแล้ว ”
3 เล่ม วิพากษ์การศึกษาไทย แกะรอยวัฒนธรรมอำนาจนิยมภายใต้บริบทเรื่อง เครื่องแบบ ร่างกาย ระเบียบวินัย และการต่อต้าน ในปี 2020 สังคมไทยมีปรากฎการณ์ #1ธันวาบอกลาเครื่องแบบ ที่เหล่านักเรียน นักศึกษาได้รณรงค์แต่งชุดไปรเวทไปโรงเรียน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างการถกเถียงและผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาบางส่วนจนได้รับบทลงโทษจากกฏระเบียบของสถานศึกษาและผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อกรณี “หยก”แต่งชุดไปรเวทและย้อมผมไปโรงเรียน จึงทำให้ประเด็นเครื่องแบบ ทรงผมของโรงเรียนวนกลับมาเป็นที่ถกเถียงกันอีกครั้ง ด้วยความเข้มข้นของค่านิยมระเบียบวินัยของระบบการศึกษาไทยที่ฝังลึก จึงทำให้ประเด็นนี้ต้องต่อสู้มาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ “หยก” แต่ยังมีแต่ยังมีนักเรียน นักศึกษาและอีกหลายคนที่ยังยืนยันว่าสิ่งนี้คือปมปัญหาใหญ่ที่สังคมไทยต้องยกมาพูดคุยและหาหนทางสร้างการเปลี่ยนแปลง
ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พวกเรา Book Re:public และเพื่อนๆ คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสเดินทางไปจัดงานเสวนาเล็กๆ ที่จังหวัดแพร่ ร่วมกับกลุ่ม ABO+ ในชื่องาน ’รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ ชวนตัวแทนคนรุ่นใหม่จากจังหวัดเชียงใหม่ ไปเปิดวง Book talk ขนาดกะทัดรัดในพื้นที่บ้านเก่าที่ถูกนำมารีโนเวทให้กลายเป็นห้องโถงสีขาวสองชั้น สำหรับรองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในจังหวัดแพร่ให้ได้มีพื้นที่โชว์ศักยภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองให้เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ทางปัญญา ภายใต้ชื่อ ABO+ Phrae Creative
Book Re: public อยากชวนทุกคน”อ่านต่อ”จากหนังสือ “รัก และ การปฏิวัติ” โดย ธิกานต์ ศรีนารา แกะรอยงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญ สอดส่องประวัติศาสตร์และบรรยากาศความรักที่ก้าวหน้า กับหนังสือแนะนำอ่านต่อ และหนังสือบางส่วนที่ถูกยกขึ้นมาวิเคราะห์ในเล่มนี้เพื่อทำความเข้าใจมิติต่างๆ ของบรรยากาศหนุ่มสาวที่ก้าวหน้าในประวัติศาสตร์ไทย(ในช่วงทศวรรษ 2490–2520). รักและการปฏิวัติ จากหนังสือ รักและการปฏิวัติโดย ธิกานต์ ศรีนาราที่พูดถึงการเมืองวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของงานวรรณกรรม กวี และบทเพลงของไทยในช่วงสงครามเย็น จนถึงช่วงสงครามประชาชนในทศวรรษ 2510
ชวนอ่าน : หนังสือประวัติศาสตร์ล้านนานอกกระแส และความเคลื่อนไหวในท้องถิ่นที่พวกเรา Book Re:public อยากนำเสนอกับหนังสือประวัติศาสตร์คู่ขนานกับบางมุมที่ถูกซ้อนไว้และเราอาจไม่เคยรู้มาก่อน ผ่านมุมมอง ข้อโต้เถียงของคนท้องถิ่นกับข้อเท็จจริงที่รัฐไทยสร้าง สะท้อนถึงอำนาจรวมศูนย์ผ่านการเขียนเรื่องราวประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์สังคมล้านนา : ความเคลื่อนไหวของชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดย อานันท์ กาญจนพันธุ์ ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจวัฒนธรรม แอ่งเชียงใหม่-ลำพูนโดย รัตนาพร เศรษฐกุล ทวนกระแสประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำวังโดย ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ปรินส์รอยฯ 131 ปี (พ.ศ. 2430-2561)โดย
“กิจกรรมยืนหยุดขัง” เป็นกิจกรรมการแสดงออกทางการเมืองอย่างสันติวิธีเพื่อเรียกร้องการปล่อยตัว แกนนำราษฎร ที่ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัว และไม่เห็นด้วยต่อกระบวนการยุติธรรมที่บังคับใช้กับประชาชนในเวลานี้ กิจกรรมยืนหยุดขังกำลังกระจายไปสู่จังหวัดอื่นๆด้วยเช่นกัน ที่จังหวัดเชียงใหม่กิจกรรมนี้ดำเนินมาถึงวันที่ 8 ประชาชนชาวเชียงใหม่ยังคงมาร่วมกิจกรรมอย่างไม่ขาดสายทุกวัน ตั้งแต่เวลา5โมงเย็นเป็นต้นไป โดยทุกคนพร้อมใจกันยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ นอกจากเราจะเห็นการรวมตัวกันของคนหลากหลายวัยเพื่อมาทำกิจกรรม เรายังสังเกตุเห็นว่าหลายคนต่างก็มีกิจกรรมเสริมในรขณะยืน อย่างเช่น การอ่านหนังสือ หรือในชื่อกิจกรรม“อ่านหยุดขัง” หนังสือที่แต่ละคนพกมาอ่าน มีหลากหลายประเภท ทั้งหนังสือการเมือง วรรณกรรม
.. ประวัติศาสตร์การเมืองที่รัฐเขียน เรื่องราว น้ำเสียงถูกจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ ลดทอนรายละเอียดของอารมณ์ความรู้สึก รัฐมีอำนาจที่สามารถสร้างสิ่งที่เราต้อง “จดจำ” และด้านหนึ่งอำนาจรัฐก็ “ทำให้ลืม” ในสิ่งที่เรียกว่า อาขญากรรมรัฐ (state crime) ด้วยเช่นกัน จากหลักฐานประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนไม่ได้สยบยอม และยังคงต่อสู้เพื่อ ไม่ให้ “ความจริง” นั้นเลือนหายไป ยังมีเส้นทางของประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นและขนานกันไป ซึ่งอาจะจะมีเพียงจุดเริ่มต้นที่เป็นผลพวงจากการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นอย่างยาวนาน หนังสือการประวัติศาสตร์เหล่านี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานการบันทึกเหตุการณ์จากหลากหลายมุมมอง น้ำเสียง และทัศนคติ
การตั้งคำถามกับความปกติ และความธรรมดาของยุคสมัย ชวนอ่านโดย ประสิทธิ์ ครุธาโรจน์
ร้านหนังสืออิสระในเชียงใหม่ เป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการถกเถียงและแลกเปลี่ยนประเด็นทางสังคมและการเมือง เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้และแนวคิดสังคมประชาธิปไตย