Our news

บทความ ห้องเรียน Human ร้าย Human wrong

  • ‘รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ วงเสวนาที่ชวนคนรุ่นใหม่มาคุยหนังสือ

    ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พวกเรา Book Re:public และเพื่อนๆ คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสเดินทางไปจัดงานเสวนาเล็กๆ ที่จังหวัดแพร่ ร่วมกับกลุ่ม ABO+ ในชื่องาน ’รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ ชวนตัวแทนคนรุ่นใหม่จากจังหวัดเชียงใหม่ ไปเปิดวง Book talk ขนาดกะทัดรัดในพื้นที่บ้านเก่าที่ถูกนำมารีโนเวทให้กลายเป็นห้องโถงสีขาวสองชั้น สำหรับรองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในจังหวัดแพร่ให้ได้มีพื้นที่โชว์ศักยภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองให้เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ทางปัญญา ภายใต้ชื่อ ABO+ Phrae Creative Wisdom Space   โดยมี ‘พรีเมียร์’ นาวินธิติ  ตัวแทนจากกลุ่ม SAAP 24:7 หนึ่งในสมาชิก Humanร้าย 5,  ‘ขวัญ’ ขนิษฐา ตัวแทนกลุ่ม SYNC space หนึ่งในสมาชิก Human ร้าย5  และ ‘เจ๋ง’ สิรศิลป์ ตัวแทนนักศึกษาสาขา Media art and Design มหาลัยเชียงใหม่  ในงานเสวนาจัดขึ้นจาก ความเห็นของ…

    READ MORE

  • Human ร้าย Human Wrong 5 The Team Making Change 2022

    Human ร้าย Human Wrong 5 The Team Making Change จัดขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อสรุปสิ่งที่ สมาชิก Human ร้าย ปีที่5 ทั้ง 3 ทีม ได้ทดลองทำงานรณรงค์บนพื้นที่สาธารณะ ตลอดระยะเวลา เกือบ 6 เดือนที่ผ่านมา (ตั้งแต่มีนาคม-สิงหาคม 2022) ในพื้นที่สาธารณะทั่วตัวเมืองเชียงใหม่ และการสื่อสารบนโลกออนไลน์ จนออกมาเป็นผลงานการสรุปสิ่งที่พวกเขาได้เรียนรู้ สิ่งที่ได้ออกแบบงานรณรงค์เข้าไปสื่อสารหรือสร้างกิจกรรมให้ผู้คนได้มีส่วนร่วมอย่างแท้จริงตามเหตุการณ์กระแสสังคม แต่ละช่วงเวลา แต่ละกลุ่มเป้าหมาย และพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไป เพื่อนำไปสู่การสร้างความสนใจให้คนเชียงใหม่ตระหนักต่อประเด็นที่แต่ละทีมรณรงค์ ในงาน Human ร้าย Human Wrong 5 The Team Making Change วันที่ 24 กันยายน พวกเราได้ใช้พื้นที่’ลานเสี่ยว’ ในการจัดนิทรรศการแสดงข้อมูลจากงานรณรงค์ของแต่ละทีม ได้แก่ ทีมขนสุขสาธารณะ , ทีม Sync space และ ทีม…

    READ MORE

  • นิทรรศการศิลปะ【Peace and Prosperity】

    นิทรรศการ 太平成世 { Peace and Prosperity } เกิดจากความตั้งใจของศิลปินไร้นาม ‘Noboy but Hong Kong’ ที่ต้องการเผยแพร่ผลงานศิลปะชุดนี้ต่อสาธารณะ แต่ผลงานไม่สามารถจัดแสดงที่ฮ่องกงได้เพราะเนื้อหาที่ละเอียดอ่อนต่อสถานการณ์การเมืองและอาจถูกรัฐดำเนินคดีในการเซ็นเซอร์เนื้อหา Book Re:public , กลุ่ม Artn’t และศิลปินไร้นาม ‘Noboy but Hong Kong’ จึง ได้ร่วมมือกันนำผลงานชุดนี้ มาเรียบเรียงและจัดแสดงไปพร้อมกับผลงานศิลปะบางส่วนจากกลุ่ม Artn’t ที่เชียงใหม่ ที่ร้านกาแฟ Brewgining ถ.ช้างม่อย ซึ่งจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 9 สิงหาคม จนไปถึงวันที่ 21 สิงหาคมนี้ ในงานวันเปิดศิลปินจาก กลุ่ม Arn’t รับหน้าที่เป็น Curator ได้มาพูดคุยถึงการกระบวนทำงาน ที่มาที่ไปของผลงานชุด Peace and Prosperity รวมไปถึงกิจกรรมอ่านบทกวีการต่อสู้ภาคประชาชนจากสมาชิกกลุ่ม Artn’t ที่ทำให้เนื้อหาในการสื่อสารในนิทรรศการครั้งนี้เชื่อมโยงกับความรู้สึก และประสบการณ์ร่วมในประเด็นการต่อต้านอำนาจรัฐที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานี้ของสังคมไทย TH【Peace and Prosperity】『太平盛世』Ink…

    READ MORE

  • ส่องรถไฟฟ้าในฝันของชาวเชียงใหม่ : ขนสุขสาธารณะ

    เนื้อหา / ภาพประกอบโดย : กลุ่มขนสุขสาธารณะ จากโครงการ Human ร้าย Human Wrong 5 เชียงใหม่..เมืองในฝัน คงจะเป็นคำที่ใครหลายๆคนคุ้นหู หรือเคยมองเห็นผ่านสายตากับคำโฆษณานี้ แต่คำว่า “เชียงใหม่…เมืองในฝัน”เป็นคำโฆษณาที่เหมาะสมกับเชียงใหม่เป็นอย่างมาก เพราะเราอยู่กับฝันมาอย่างยาวนานเหลือเกิน โดยเฉพาะฝันที่จะมีขนส่งมวลชน ฝันที่จะมีคุณภาพที่ดี และเดินทางสะดวกในเมืองใหญ่นี้ ความฝันของขนส่งมวลชนเชียงใหม่ถูกปั้นมาตั้งแต่ปี 2539 จนปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 26 ปีแล้วที่เราอยู่กับฝันนี้ และไม่รู้ว่าต้องรออีกกี่ทศวรรษ ฝันที่จะมีขนส่งมวลชนของชาวเชียงใหม่ จะเป็นจริงเสียที วันนี้เราจึงอยากชวนทุกคนไปส่องโครงการ “รถไฟฟ้าในฝันของคนเชียงใหม่” กัน ว่าเพราะเหตุใด เชียงใหม่ ถึงยังไม่มีรถขนส่งมวลชนกับเขาเสียที เมื่อ 29 ปีที่แล้ว(2536)… การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ได้วางโครงการการจัดสร้างระบบขนส่งใน 8 หัวเมืองใหญ่ คือ เชียงใหม่ พิษณุโลก ขอนแก่น นครราชสีมา สงขลา ภูเก็ต ฉะเชิงเทรา และชลบุรี  ในอีก 3 ปีถัดมา…

    READ MORE

  • เพราะรักและการปฏิวัติ จึงอ่านต่อ

    Book Re: public อยากชวนทุกคน”อ่านต่อ”จากหนังสือ “รัก และ การปฏิวัติ” โดย ธิกานต์ ศรีนารา แกะรอยงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญ สอดส่องประวัติศาสตร์และบรรยากาศความรักที่ก้าวหน้า กับหนังสือแนะนำอ่านต่อ และหนังสือบางส่วนที่ถูกยกขึ้นมาวิเคราะห์ในเล่มนี้เพื่อทำความเข้าใจมิติต่างๆ ของบรรยากาศหนุ่มสาวที่ก้าวหน้าในประวัติศาสตร์ไทย(ในช่วงทศวรรษ 2490–2520). รักและการปฏิวัติ จากหนังสือ รักและการปฏิวัติโดย ธิกานต์ ศรีนาราที่พูดถึงการเมืองวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของงานวรรณกรรม กวี และบทเพลงของไทยในช่วงสงครามเย็น จนถึงช่วงสงครามประชาชนในทศวรรษ 2510 การต่อสู้ช่วงชิงนิยามของ”ความรัก” ที่ให้ฝูกโยงกับวิถีชีวิต”สามัญชน” ในขณะเดียวกันยิ่งตอกย้ำความเข้มข้นการวิพากษ์ ชนชั้น“ศักดินา” ซึ่งการเมืองวัฒนธรรมเหล่านี้ส่งต่ออุดมการบรรยากาศของ”การปฏิวัติ”เพื่อความหวัง ความฝันแบบใหม่ไปควบคู่กับการก่อร่างสร้างอัตลักษณ์ของความเป็นประชากรโลกที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของคนหนุ่มสาวที่ไม่อาจหวนกลับไปสู่ระบบอำนาจ ขนบ ธรรมเนียมล้าหลังอีกต่อไป ในเล่มนี้ยังมีหนังสือและงานวรรณกรรมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาวิเคราะห์และชวนอ่านต่อที่น่าสนใจเช่น และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฎ โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ , ปีศาจ โดย เสนีย์ เสาวพงศ์ , จนกว่าเราจะพบกันใหม่ โดย ศรีบูรพา และอื่นๆ  อ่านต่อ หมวดประวัติศาสตร์“ปฏิวัติ” ทำความเข้าใจปรากฎการณ์ทางการเมือง บรรยากาศของการลุกขึ้นมาปฎิวัติในชีวิตประจำวันของคนวัยหนุ่มสาวและกลุ่มหัวก้าวในช่วง 2475-2500 ในไทยกับหนังสือ…

    READ MORE

  • ชวนอ่าน : หนังสือประวัติศาสตร์ ล้านนานอกกระแส

    ชวนอ่าน : หนังสือประวัติศาสตร์ล้านนานอกกระแส และความเคลื่อนไหวในท้องถิ่นที่พวกเรา Book Re:public อยากนำเสนอกับหนังสือประวัติศาสตร์คู่ขนานกับบางมุมที่ถูกซ้อนไว้และเราอาจไม่เคยรู้มาก่อน ผ่านมุมมอง ข้อโต้เถียงของคนท้องถิ่นกับข้อเท็จจริงที่รัฐไทยสร้าง สะท้อนถึงอำนาจรวมศูนย์ผ่านการเขียนเรื่องราวประวัติศาสตร์ ประวัติศาสตร์สังคมล้านนา : ความเคลื่อนไหวของชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดย อานันท์ กาญจนพันธุ์ ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจวัฒนธรรม แอ่งเชียงใหม่-ลำพูนโดย รัตนาพร เศรษฐกุล ทวนกระแสประวัติศาสตร์ลุ่มน้ำวังโดย ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ ปรินส์รอยฯ 131 ปี (พ.ศ. 2430-2561)โดย ธเนศวร์ เจริญเมือง กบฎเงี้ยว : การเมืองของความทรงจำ  ประวัติศาสตร์เมืองแพร่ รัฐจารีต สู่การสร้างอาณานิคมภายในภายใต้วาทกรรม “รัฐชาติ”โดย ชัยพงษ์ สำเนียง ประวัติศาสตร์สังคมล้านนา : ความเคลื่อนไหวของชีวิตและวัฒนธรรมท้องถิ่นโดย อานันท์ กาญจนพันธุ์ หนังสือที่เล่าถึงประวัติศาสตร์ตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบันของความสัมพันธ์กันทั้งทางด้าน เศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรมของสังคมไทยและท้องถิ่นล้านนาที่ปรับเปลี่ยนไปผ่านการวิเคราะห์และการสืบเสาะข้อมูลแบบหลักมานุษยวิทยา หลากหลายประเด็น เช่นวัฒนธรรมความเชื่อทางพุธศาสนาที่เข้ามาแทนความเชื่อเกี่ยวกับผีของคนพื้นเมือง , แรงงานในประวัติศาสตร์ท้องถิ่นและการโยกย้ายถิ่นฐาน , ระบบทุนนิยมกับการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจหมู่บ้านล้านนา ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจวัฒนธรรม แอ่งเชียงใหม่-ลำพูนโดย รัตนาพร เศรษฐกุล…

    READ MORE

  • “กลัวไม่เปลี่ยน” | “The fear is here to stay.”

    สกุลรัตน์ ใจบุญ | Sakunrat Jaiboon สกุลรัตน์ ใจบุญ“กลัวไม่เปลี่ยน”, พ.ศ.2564วิดีโอ, เสียง และ ภาพพิมพ์บนกระดาษ250 × 270 ซม. Sakunrat Jaiboon“The fear is here to stay.”, 2021Video, sound and print on paper250 × 270 cm. concept ทิศทางการเมืองไทยในปัจจุบันได้จุดประกายให้ผู้คนมากมายออกมาเรียกร้องและเชื่อมั่นในเสรีภาพการแสดงออก แต่ภายใต้บรรยากาศของ ‘ความกลัว’ ที่รัฐสร้างขึ้นและฝังลึกในสำนึกของผู้คนมาอย่างยาวนาน เยาวชนส่วนหนึ่งต้องใช้พลังและความกล้าหาญเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง ผลงานชิ้นนี้เป็นการเขียนประวัติศาสตร์ว่าด้วยการเผชิญหน้าความกลัวที่เกิดขึ้นในยุคสมัยของการปิดกั้นเสรีภาพทางการแสดงออกในระดับชีวิตประจำวัน โดยผ่านมุมมองและประสบการณ์ของผู้ผลิตผลงานเอง Ignited by the current political movement, large numbers of Thais have started to come out to protest…

    READ MORE

  • ยืมอ่าน-ยืนหยุดขัง มุมยืมหนังสือที่เปิดทำการเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที

    จากกิจกรรมยืนหยุดขังที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินมาจนถึงวันที่ 10 ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ นอกจากกิจกรรมหลักที่ประชาชนยืนสงบนิ่งในทุกๆวันช่วงเวลา 5 โมงเย็นเป็นต้นไป สิ่งที่เรามักจะสังเกตเห็นเมื่อไปร่วมกิจกรรม คือการยืนอ่านหนังสือของผู้คนหลากหลายช่วงอายุ หลากหลายเนื้อหาความสนใจ  จากการเข้าไปสอบถาม หลายคนที่ยืนอ่านหนังสือบอกว่า ทุกวันจะมีกล่องลังกระดาษที่บรรจุหนังสือหลากหลายประเภทวางไว้อยู่มุมหนึ่งของลานฯ ให้คนที่มาร่วมกิจกรรมได้ยืมอ่านขณะที่ยืน และนำไปคืนเมื่อเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที สิ้นสุดลง  ซึ่งเจ้าของไอเดีย “ยืมหนังสือ” ช่วงของการทำกิจกรรมยืนหยุดขังคือ “หมอมีน”และ “ซู่หมู” จากสมาชิกของผู้เข้าร่วมกิจกรรมยืนหยุดขัง  มาสู่การสร้างสรรค์กิจกรรม “ยืมอ่าน -ยืนหยุดขัง” เกิดจากความตั้งใจที่อยากจะเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนหนังสือให้คนที่มาร่วมยืนได้อ่านหนังสือในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที เริ่มต้นไอเดีย “ยืมอ่าน -ยืนหยุดขัง” ซู่หมู : เรามาร่วมกิจกรรมยืนหยุดขังตั้งแต่ช่วงแรก โดยส่วนตัวเราเป็นคนสนใจ และสังเกตการใช้พื้นที่สาธารณะในการทำกิจกรรมของผู้คน  แล้วเห็นว่ากิจกรรมยืนหยุดขังที่เกิดขึ้นบริเวณลานสามกษัตริย์มีพัฒนาการเป็นไปตามธรรมชาติโดยตัวเอง ทั้งคนยืนที่มาเพิ่มขึ้น กิจกรรมที่ทำระหว่างยืนก็มีคนเอา podcast มาฟังบ้าง หาหนังสือมาอ่านบ้าง เราเลยไปชวน ‘หมอมีน’ มาอ่านหนังสือที่งานนี้ ประจวบเหมาะว่าหมอมีนเป็นคนมีหนังสือเยอะ เลยชวนกันหยิบเอาหนังสือที่มียกใส่กล่องมาตั้งไว้ที่งานให้คนยืมอ่าน หมอมีน : เราเอาหนังสือที่เรามีอยู่แล้วในห้องมาให้คนยืมอ่านที่นี่…

    READ MORE

  • อ่านหยุดขัง – ยืนหยุดขัง เชียงใหม่

    “กิจกรรมยืนหยุดขัง” เป็นกิจกรรมการแสดงออกทางการเมืองอย่างสันติวิธีเพื่อเรียกร้องการปล่อยตัว แกนนำราษฎร ที่ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัว และไม่เห็นด้วยต่อกระบวนการยุติธรรมที่บังคับใช้กับประชาชนในเวลานี้ กิจกรรมยืนหยุดขังกำลังกระจายไปสู่จังหวัดอื่นๆด้วยเช่นกัน ที่จังหวัดเชียงใหม่กิจกรรมนี้ดำเนินมาถึงวันที่ 8 ประชาชนชาวเชียงใหม่ยังคงมาร่วมกิจกรรมอย่างไม่ขาดสายทุกวัน ตั้งแต่เวลา5โมงเย็นเป็นต้นไป โดยทุกคนพร้อมใจกันยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  นอกจากเราจะเห็นการรวมตัวกันของคนหลากหลายวัยเพื่อมาทำกิจกรรม เรายังสังเกตุเห็นว่าหลายคนต่างก็มีกิจกรรมเสริมในรขณะยืน อย่างเช่น การอ่านหนังสือ หรือในชื่อกิจกรรม“อ่านหยุดขัง”  หนังสือที่แต่ละคนพกมาอ่าน มีหลากหลายประเภท ทั้งหนังสือการเมือง วรรณกรรม บทกวี จนกลายเป็นภาพสัญลักษณ์การแสดงออกทางการเมืองที่ซ้อนทับความหมายเดิมของพื้นที่แห่งนี้ ทั้งเป็นพื้นที่แห่งความนิ่งเงียบที่แสดงให้เห็นถึงความไม่จำยอมต่ออำนาจรัฐ และเป็นพื้นที่แห่งการอ่าน  อ่านเพื่อเดินทางผ่านตัวหนังสือ อ่านเพื่อการต่อต้าน อ่านเพื่อการเบิกเนตร อ่านเพื่อรักษาอุดมการประชาธิปไตย ซึ่งทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมกันในเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที  สำรวจหนังสือที่ชาวเชียงใหม่หยิบมาอ่านในกิจกรรม”ยืนหยุดขัง”วันที่ 8 เนรเทศ  ภู กระดาษ “ผมกำลังจะทำโปรเจ็คศิลปะที่ขอนแก่น เพื่อนเลยแนะนำให้อ่านเล่มนี้ เพื่อทำความเข้าใจความเป็นอีสาน ในอีกมุมหนึ่ง เล่มนี้เรื่องสั้นที่ใช้ภาษาท้องถิ่นในการนำเสนอวิถีชีวิตของคนอีสาน ความยากลำบากในการใช้ชีวิต ที่ต้องแปรผันไปตามการเมือง การปกครองของสังคมไทย โดยเฉพาะชนชั้นแรงงาน หรือชนชั้นล่าง” โอลด์รอยัลลิสต์ดาย  วาด…

    READ MORE

  • อ่านอะไรในประวัติศาสตร์เวลา : จาก พฤษภาคม 2535 – พฤษภาคม 2553

    .. ประวัติศาสตร์การเมืองที่รัฐเขียน เรื่องราว น้ำเสียงถูกจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ ลดทอนรายละเอียดของอารมณ์ความรู้สึก รัฐมีอำนาจที่สามารถสร้างสิ่งที่เราต้อง “จดจำ” และด้านหนึ่งอำนาจรัฐก็ “ทำให้ลืม” ในสิ่งที่เรียกว่า อาขญากรรมรัฐ (state crime) ด้วยเช่นกัน จากหลักฐานประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนไม่ได้สยบยอม และยังคงต่อสู้เพื่อ ไม่ให้ “ความจริง” นั้นเลือนหายไป ยังมีเส้นทางของประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นและขนานกันไป ซึ่งอาจะจะมีเพียงจุดเริ่มต้นที่เป็นผลพวงจากการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นอย่างยาวนาน หนังสือการประวัติศาสตร์เหล่านี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานการบันทึกเหตุการณ์จากหลากหลายมุมมอง น้ำเสียง และทัศนคติ ของประชาชนชั้นสามัญ จาก ปี พ.ศ. 2535 (และก่อนหน้านี้) จนถึง 2553 ยังเป็นเป้าหมายสำคัญที่พวกเขาไม่ต้องการให้การต่อสู้กับความรุนแรงที่รัฐกระทำถูกทำให้ลืมเลือนไป เพราะนี่คือช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของประชาชน  ชวนอ่านประวัติศาสตร์คู่ขนาน เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทยที่เกิดขึ้นในเดือน “พฤษภาคม” หนังสือเปิดพื้นที่ทำความเข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์จากหลากหลายมุมมองของสามัญชน 19-19 ภาพชีวิต และการต่อสู้คนเสื้อแดง เมื่อภาพถ่ายคือพลังของการบอกเล่าเรื่องราว และการบันทึกประวัติศาสตร์เชิงประจักษ์ ชวนให้ผู้อ่านสืบเสาะหาเรื่องราวภายใต้เวลาที่หยุดนิ่ง …หลังจากรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 ประชาชนกลุ่มหนึ่งได้รวมตัวชุมนุม เดินขบวนเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง ด้วยท่าทีที่มีต่อ ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย รวมทั้งกลุ่มคนที่แสดงจุดยืนต่อความเป็นประชาธิปไตย จุดที่เป็นเป้าหมายร่วมกันคือการปฎิเสธรัฐประหารและผลผลิตของเผด็จการ…

    READ MORE

บทความ ห้องเรียน Human ร้าย Human wrong