อ่านหยุดขัง – ยืนหยุดขัง เชียงใหม่

“กิจกรรมยืนหยุดขัง” เป็นกิจกรรมการแสดงออกทางการเมืองอย่างสันติวิธีเพื่อเรียกร้องการปล่อยตัว แกนนำราษฎร ที่ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัว และไม่เห็นด้วยต่อกระบวนการยุติธรรมที่บังคับใช้กับประชาชนในเวลานี้ กิจกรรมยืนหยุดขังกำลังกระจายไปสู่จังหวัดอื่นๆด้วยเช่นกัน ที่จังหวัดเชียงใหม่กิจกรรมนี้ดำเนินมาถึงวันที่ 8 ประชาชนชาวเชียงใหม่ยังคงมาร่วมกิจกรรมอย่างไม่ขาดสายทุกวัน ตั้งแต่เวลา5โมงเย็นเป็นต้นไป โดยทุกคนพร้อมใจกันยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  นอกจากเราจะเห็นการรวมตัวกันของคนหลากหลายวัยเพื่อมาทำกิจกรรม เรายังสังเกตุเห็นว่าหลายคนต่างก็มีกิจกรรมเสริมในรขณะยืน อย่างเช่น การอ่านหนังสือ หรือในชื่อกิจกรรม“อ่านหยุดขัง”  หนังสือที่แต่ละคนพกมาอ่าน มีหลากหลายประเภท ทั้งหนังสือการเมือง วรรณกรรม บทกวี จนกลายเป็นภาพสัญลักษณ์การแสดงออกทางการเมืองที่ซ้อนทับความหมายเดิมของพื้นที่แห่งนี้ ทั้งเป็นพื้นที่แห่งความนิ่งเงียบที่แสดงให้เห็นถึงความไม่จำยอมต่ออำนาจรัฐ และเป็นพื้นที่แห่งการอ่าน  อ่านเพื่อเดินทางผ่านตัวหนังสือ อ่านเพื่อการต่อต้าน อ่านเพื่อการเบิกเนตร อ่านเพื่อรักษาอุดมการประชาธิปไตย ซึ่งทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมกันในเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที  สำรวจหนังสือที่ชาวเชียงใหม่หยิบมาอ่านในกิจกรรม”ยืนหยุดขัง”วันที่ 8 เนรเทศ  ภู กระดาษ “ผมกำลังจะทำโปรเจ็คศิลปะที่ขอนแก่น เพื่อนเลยแนะนำให้อ่านเล่มนี้ เพื่อทำความเข้าใจความเป็นอีสาน ในอีกมุมหนึ่ง เล่มนี้เรื่องสั้นที่ใช้ภาษาท้องถิ่นในการนำเสนอวิถีชีวิตของคนอีสาน ความยากลำบากในการใช้ชีวิต ที่ต้องแปรผันไปตามการเมือง การปกครองของสังคมไทย โดยเฉพาะชนชั้นแรงงาน หรือชนชั้นล่าง” โอลด์รอยัลลิสต์ดาย  วาด […]

วิเคราะห์ ปรับตัว วางแผน : เพื่อก้าวต่อไปในกระบวนการต่อสู้ของคนรุ่นใหม่ โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ

Book Re:public ชวนอาจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการเมืองการปกครองคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มาวิเคราะห์และมองแผนการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยในก้าวต่อไปของเยาวชนคนรุ่นใหม่

ฝึกคิดเชิงวิพากษ์ และดีเบต กับค่าย “คิด space รุ่นที่ 1”

ในช่วงเดือน กันยายน ถึง ธันวาคม 2020 ที่ผ่านมา พวกเรา ทีมงาน “คิด space” ได้เปิดตัวโครงการคิดเชิงวิพากษ์ในรูปแบบค่ายฝึกอบรมแบบเต็มกระบวนการให้กับกลุ่มนักศึกษาจากสถาบันระดับอุดมศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้ชื่อโครงการ “คิด Space รุ่น 1” ซึ่งสมาชิกโครงการประกอบด้วย นักศึกษาจากหลากสาขาวิชาและสถาบัน ได้แก่ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศิลปะ การออกแบบ สถาปัตยกรรมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ และแพทยศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  แม้สมาชิกรุ่นที่ 1 จะมีความต่างทางด้านพื้นฐานวิชาและองค์ความรู้ แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนสนใจและต้องการร่วมกัน คือการฝึกฝนและพัฒนาศักยภาพด้านการคิดเชิงวิพากษ์ รวมไปถึงเครื่องมือการจัดการความคิดที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ก่อนเริ่มจะเริ่ม “คิด”  ก่อนเริ่มค่ายคิด space ครั้งที่ 1 พวกเราได้สำรวจหัวข้อและประเด็นทางสังคมที่คนรุ่นใหม่สนใจ พร้อมไปกับการทำความรู้จักพวกเขา และแนะนำโครงการ ผ่านการสัมภาษณ์กลุ่มกับอาสาสมัครนักศึกษาจากสถาบันระดับอุดมศึกษาต่างๆในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ทำให้พวกเราได้เห็นและเรียนรู้ถึงมุมมองเกี่ยวกับประเด็นปัญหาที่ใกล้ตัวตั้งแต่ระดับในครอบครัว ชุมชน รั้วมหาวิทยาลัย ไปจนถึงสังคมประเทศ เช่น ปัญหาการบริหารและจัดการทั่วไปในมหาวิทยาลัย ผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่มีต่อนักศึกษา ครอบครัว และสมาชิกในสังคม ความรุนแรงในครอบครัว เสรีภาพในการแสดงออก และการเมืองไทย เป็นต้น จากการสำรวจหัวข้อและประเด็นทางสังคม สู่การพัฒนาออกมาเป็นหลักสูตรและกิจกรรมโดยทีมงาน กิจกรรมการเรียนรู้ในเวิร์คช็อปนี้ ประกอบด้วย การคิดเชิงวิพากษ์ ข้อถกเถียง […]

ก้าวใหม่ในการทำงานของ Book Re:public ในปี 2021

หากใครเป็นแฟนคลับของร้านหนังสืออิสระ Book Re:public คงยังจำกันได้ว่าเราเปิดร้านครั้งแรกเมื่อปี 2011 ที่ สาขาคันคลอง จนย้ายมาที่ สาขาถนนกองบิน 41 (ปี2015 – 2019) และในครั้งที่ 3 ณ เวลานี้ เราได้ย้ายมาอยู่ที่ ซอยวัดอุโมงค์ แม้ขนาดของร้านจะเล็กลงกว่าเมื่อก่อนมาก แต่ไม่ใช่อุปสรรคในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ของพวกเราในปี 2021 นี้ ย้อนกลับไปในช่วงเวลา 8 ปีก่อนหน้านี้ สังคมเชียงใหม่มีแนวโน้มของการตื่นรู้ในประเด็นทางสังคมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ก้าวแรกของ Book Re:public เราจึงมีความตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ให้กับคนรุ่นใหม่ในเมืองเล็กๆ แห่งนี้ จากคำถามและข้อจำกัดต่างๆ ของการเข้าถึงความรู้ ข้อมูลที่หลากหลาย และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ที่ยังจำกัดอยู่แต่ในพื้นที่การศึกษา และในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ จึงเป็นเป้าหมายแรกของเรา ว่าจะทำอย่างไรให้ความรู้เหล่านั้น กระจายมาสู่พื้นที่อื่นๆได้บ้าง จนนำไปสู่การออกแบบพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในรูปแบบของร้านหนังสือ ที่มีพื้นที่สำหรับจัดงานเสวนาวิชาการ ซึ่งได้คัดสรร หมุนเวียนเนื้อหาให้เข้ากับกระแสความสนใจของคนในสังคมในแต่ละช่วงเวลา ด้วยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาด้านต่างๆ ทั้งการเมือง ,ศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์คู่ขนาน ,ความหลากหลายทางเพศ , กลุ่มชาติพันธุ์ […]

เปิดห้องเรียน Human ร้าย Human Wrong : “ผัสสะ” เครื่องมือการรับ(เรียน)รู้สังคมและวัฒนธรรม

บันทึกบทเรียนจากห้องเรียน ร้าย, Human Wrong 4 การเรียนรู้ครั้งใหม่ของพวกเราชาว Human ร้าย Human Wrong รุ่นที่ 4 เริ่มขึ้นในช่วงท้ายปี 2020 ปีแห่งการค้นหา และสัมผัส ‘ความเป็นมนุษย์’ ยังคงเป็นหัวใจหลักการเรียนรู้ของพวกเรา ในสังคมที่ทุกอย่างขับเคลื่อนไปอย่างรวดเร็ว ข้อมูลข่าวสารจากผู้คนมากมายไหล่บ่าเข้ามาปะทะเราตลอดเวลา ผัสสะการรับรู้แห่งยุคสมัยถูกทำให้โฟกัสอยู่เพียงช่วงเวลาสั้นๆ ด้วยเทคโนโลยีต่างๆรอบตัว จนอดที่จะตั้งคำถามไม่ได้ว่า เราหลงลืมความละเอียดละออของ ‘ผัสสะ’ การรับรู้ที่เป็นความสามารถพื้นฐานที่ติดตัวเราไป และจะทำอย่างไรให้เราสัมผัสความหลากหลายของมนุษย์ได้อย่างลึกซึ้งขึ้น ปีนี้ Human ร้าย Human Wrong จึงพาสมาชิกทุกคนหวนกลับมาทำความเข้าใจ “ผัสสะ” ที่เป็นเครื่องมือการรับรู้ของมนุษย์ เพื่อเรียนรู้ ทำความเข้าใจ เรื่องราว “ความเป็นมนุษย์” ในแง่มุมที่แตกต่างออกไป เราเปิดด้วย workshop แรก ด้วยหัวข้อ “ผัสสะ : เครื่องมือการรับ(เรียน)รู้สังคมและวัฒนธรรม” โดย อาจารย์ ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยามานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พร้อมกับคำถามเริ่มต้นก่อนเข้าบทเรียนของแรกของวันนี้ ว่า […]

Human is born with Human Rights…ทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมกันกับสิทธิมนุษยชน

Human is born with Human Rights…ทุกคนล้วนเกิดมาพร้อมกันกับสิทธิมนุษยชน Human ร้าย, Human Wrong ปูพื้นฐาน สร้างความเข้าใจประเด็น สิทธิมนุษยชน แม้จะเป็นเรื่องที่ดูซับซ้อนไปเสียหน่อยในการกล่าวถึงประเด็นเรื่อง “สิทธิ” ในประเทศไทยว่าอำนาจที่ปัจเจกมีสิทธิในการเลือกใช้ชีวิตตามใจของตัวเองนั้นต้องเป็นไปอย่างไร  คำว่า ‘ตามใจ’ นั้นมีขอบเขตอยู่ตรงไหนในฐานะมนุษย์และพลเมือง คำว่า ‘สิทธิ’ และ ‘สิทธิมนุษยชน’ มีความสำคัญอย่างมากต่อการใช้ชีวิตในวันธรรมดาๆ ของเราเองเพราะมันส่งผลต่อการตัดสินใจเลือก ตัดสินใจเชื่อ และตัดสินใจลงมือทำ เรื่องสิทธิฝังอยู่ในทุกบริบทของการใช้ชีวิต ยิ่งนานไปยิ่งเป็นตัวละครหลักในการถกเถียงทั้งในแง่มุมทางสังคมและการเมือง คำถามสำคัญคือคนส่วนใหญ่เข้าใจมันลึกซึ้งแค่ไหน แยกได้ไหมว่าสิ่งไหนคือ “สิทธิ” สิ่งไหนคือ “สิทธิมนุษยชน” ตามตำราจากกระทรวงศึกษาธิการในประเทศไทย คำว่าสิทธิมนุษยชนถูกบรรจุเอาไว้ในหลักสูตรมัธยม ในบทหน้าที่พลเมืองและอธิบายถึงเรื่องปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (The Universal Declaration of Human Rights) ที่เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1948 เพื่อแสดงจุดยืนว่าได้ใส่เนื้อหาเรื่องนี้เข้าไปในหนังสือเรียนแล้ว แต่ในความเป็นจริงประเด็นนี้มีความซับซ้อนมากกว่าเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยและความเท่าเทียม เบญจรัตน์ แซ่ฉั่ว อาจารย์ประจำสถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ชวนชาวฮิวแมนร้ายรุ่น 3 ลองคิดเล่นๆ […]

เมื่อความหวังฝากไว้กับการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ : โจ้ Human ร้าย 1

ในเวลานี้จะเห็นได้ว่าเยาวชนมีส่วนขับเคลื่อนกระบวนการการเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพ และกล้าที่จะออกมาส่งเสียงถึงผู้ใหญ่ที่ยังควบคุมอำนาจอย่างไม่เป็นธรรม สถานการณ์ในเวลานี้เหมือนเป็นสิ่งยืนยันเราได้ว่า ความคิดแบบอนุรักษ์นิยมของคนรุ่นเก่า การบังคับใช้อำนาจที่ทำให้เด็กกลัว มันไม่ได้ผลอีกต่อไป เมื่อคนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และเข้าใจสิทธิของตนเอง และความเท่าเทียมของคนในสังคมมากขึ้น แบบสอบถามพิเศษของเหล่าสมาชิก Humanร้าย ตั้งแต่รุ่นที่1 จนถึงรุ่นที่3 ในประเด็นที่พวกเขาต้องการแสดงออกและเป็นกระบอกเสียงของคนรุ่นใหม่ในการมองปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันสำคัญของสังคมที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น “โจ้” หนึ่งในสมาชิก Humanร้ายรุ่นที่ 1 กับผลงานแนวคิดอันแสนคมคายกับการตั้งคำถามต่อเสียงเพลงที่สอดแทรกมายาคติต่อคำว่า”รักชาติ” “โจ้” Creative Director ที่ SHIFTER หนึ่งในสมาชิก Humanร้ายรุ่นที่ 1 Q : สถานการณ์บ้านเมืองในมุมมองของเราในตอนนี้เป็นยังไงบ้าง ถ้าให้มองภาพกว้างๆ ส่วนตัวรู้สึกว่าบ้านเมืองเรายังวนเวียนอยู่กับความขัดแย้งเดิมๆ ตั้งแต่ 2475 สู่เหตุการณ์เดือนตุลา 16-19 จนถึงการเมืองเสื้อเหลือง – เสื้อแดงช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา กล่าวคือเป็นการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มอำนาจเก่า กับอำนาจใหม่ มันอาจจะมีดีเทลบางอย่างอาจจะเปลี่ยนไปตามบริบทสังคมในขณะนั้นๆ เช่นชื่อตัวละครสำคัญ  เครื่องมือหรือกระบวนการในการต่อสู้และแสดงออก ฯลฯ แต่ปัญหาเชิงโครงสร้างคลาสสิคของไทยยังเหมือนเดิม คือ“ประชาชนไม่ได้มีอำนาจอะไรมากนัก”  แต่มองว่าภาคประชาชนค่อนข้างเปลี่ยนแปลงไปเยอะเลยโดยเฉพาะในช่วงสิบกว่าปีหลัง  มันเกิดอาการตื่นตัวทางการเมืองกันทั่วทุกหัวระแหงโดยเฉพาะในหมู่คนรุ่นใหม่  พวกเขาเป็นเจนเนเรชั่นที่เจอการเมืองกันตั้งแต่อ้อนแต่ออกเลย  เขาเห็นอะไรหลายๆ อย่างตั้งแต่เด็ก ส่วนตัวคิดว่าเขามีภูมิคุ้มกันในทางการเมืองค่อนข้างมาก […]

เมื่อความหวังฝากไว้กับการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ : เต็ม Human ร้าย 1

ในช่วงเวลานี้ ประเด็นสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปี 2563 ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า เยาวชนและคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาททางการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางการเมืองเป็นอย่างมากกว่าแต่เดิมที่เยาวชน คนรุ่นใหม่เกิดความกลัวและรู้สึกว่าการเมืองนั้นเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในเวลานี้เวทีการแสดงออกของเยาวชนเปิดกว้างเป็นอย่างมากและสิ่งที่น่าสนใจคือการหากลวิธีในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ที่น่าจับตามอง แบบสอบถามพิเศษของเหล่าสมาชิก Humanร้าย ตั้งแต่รุ่นที่1 จนถึงรุ่นที่3 ในประเด็นที่พวกเขาต้องการแสดงออกและเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงของคนรุ่นใหม่ในการมองปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันสำคัญของสังคมที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น “เต็ม” นักศึกษาจบใหม่ตอนนี้ทำงานด้านสถาปนิกหนึ่งในสมาชิก Humanร้ายรุ่นที่ 1 ซึ่งเคยฝากผลงานวิพกาษ์ความเพิกเฉยต่อปัญหาของคนในสังคม “เต็ม” ปัจจุบันทำงานด้านสถาปนิก หนึ่งในสมาชิก Humanร้ายรุ่นที่ 1 Q : สถานการณ์บ้านเมืองในมุมมองของเราในตอนนี้เป็นยังไงบ้าง คิดว่าดีขึ้นมาก ถึงแม้ว่าจะยังมีคนที่ตรรกะพังเหมือนเดิมอยู่ หรือไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงอะไรเหมือนเดิม แต่อย่างน้อยตอนนี้ก็มีคนรุ่นใหม่ที่กล้าคิดกล้าตั้งคำถามออกมาดังๆ ไม่ได้คิดอยู่แค่ในใจแบบแต่ก่อน Q : ในมุมมองของเราทำไมคนรุ่นใหม่ถึงอยากลุกขึ้นมาแสดงออกทางการเมืองมากขึ้น ทนไม่ไหวแล้วววววววว  เพราะการเมืองอยู่ในทุกอณูของชีวิต เลิกบอกว่า “การเมืองจะเป็นยังไงเราก็ต้องทำมาหากินกันต่อไปอยู่ดี”  ซักที แถมต้องต่อสู้กับคนตรรกะพังทุกวี่ทุกวันอีกให้ทนอ่านข่าวไร้คุณภาพทุกวันก็ไม่ไหว ถ้าไม่ลุกขึ้นมาแสดงออกอะไรก็คงต้องหนีออกจากประเทศอย่างเดียว (ซึ่งมันยังทำไม่ได้) Q : เรามีความคิดเห็นอย่างไรกับการใช้ศิลปะเข้ามาเป็นเครื่องมือ หรือกระบอกเสียงในการแสดงออกของคุณรุ่นใหม่  ศิลปะมันคือสื่อคือตัวกลางที่ถ่ายทอดความคิด จิตใจ สะท้อนให้ออกมาเป็นภาพ เสียง หรืออะไรก็ตาม มันเป็นการสื่อด้วยสิ่งที่ชัดเจนที่สุด คือไม่ว่าจะเป็นแขนงไหน ทั้ง graffiti, […]

เมื่อความหวังฝากไว้กับการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ : เอิร์ก Human ร้าย 3

ในช่วงเวลานี้ ประเด็นสถานการณ์ทางการเมืองไทยในปี 2563 ปฎิเสธไม่ได้เลยว่า เยาวชนและคนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาททางการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทัศนคติทางการเมืองเป็นอย่างมากกว่าแต่เดิมที่เยาวชน คนรุ่นใหม่เกิดความกลัวและรู้สึกว่าการเมืองนั้นเป็นเรื่องไกลตัว แต่ในเวลานี้เวทีการแสดงออกของเยาวชนเปิดกว้างเป็นอย่างมากและสิ่งที่น่าสนใจคือการหากลวิธีในการแสดงออกอย่างสร้างสรรค์ที่น่าจับตามอง บทสัมภาษณ์ พิเศษของเหล่าสมาชิก Humanร้าย ตั้งแต่รุ่นที่1 จนถึงรุ่นที่3 ในประเด็นที่พวกเขาต้องการแสดงออกและเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียงของคนรุ่นใหม่ในการมองปัญหาการเมืองไทยในปัจจุบัน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแรงผลักดันสำคัญของสังคมที่ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น “เอิร์ก” นักศึกษาจากคณะสื่อสารมวลชน ปีที่2 หนึ่งในสมาชิก Humanร้ายรุ่นที่ 3 ที่ฝากผลงานการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับคนตาบอดในสังคมที่คนพิการถูกละเลยจากรัฐ “เอิร์ก” นักศึกษาจากคณะสื่อสารมวลชน ปีที่2 หนึ่งในสมาชิก Humanร้ายรุ่นที่ 3 Q : สถานการณ์บ้านเมืองในมุมมองของเราในตอนนี้เป็นยังไงบ้าง ค่อนข้างเครียดเนื่องจากเรื่องเศรษฐกิจส่งผลต่อเราโดยตรงเพราะที่บ้านขัดสนไม่มีเงินจากภาวะ ทางเศรษฐกิจ ทำให้เราใช้ชีวิตอยู่ในเมืองค่อนข้างลำบาก(ทางการเงิน)มากกว่าเดิม เพราะได้เงินน้อยกว่าเดิมแต่มีรายจ่ายมากขึ้น ค่าครองชีพสูง อาหารแพงขึ้น เหตุผลหลัก เป็นเพราะรัฐบาลที่ไม่มีประสิทธิภาพในการบริหารงานที่ดีพอในทุกๆเรื่อง เรื่องกฎหมายก็เช่นกัน จากข่าวหลายๆข่าวเช่น คดีอาชญากรรม คดีอุ้มวันเฉลิม การยัดเงิน คดีกระทิงแดง แบบว่าเหมือนในยุครัฐบาลเผด็จการชุดนี้ ใครจะฆ่า จะข่มขืน ก่ออาชญากรรมยังไงก็ไม่ได้รับโทษ  แต่การไปยืนถือป้ายประท้วงกลับโดนออกหมายเรียกเหมือนไปก่ออาชญากรรมซะงั้น  เอาจริงๆรู้สึกสมเพชระบบการปกครองของไทยในตอนนี้นะ ไม่ว่าจะลบล้างโค่นอำนาจยังไง พวกอำนาจอยุติธรรมก็ยังเป็นใหญ่กว่าประชาชนอยู่ดี ถึงขั้นผิดหวังจนหาข้อมูลการย้ายสัญชาติเรียบร้อย Q : […]

โครงการ “แพร่ handmade” การระดมความคิดกับเมืองแพร่ที่อยากเห็นในอีก 10 ปีข้างหน้า

ชวนพูดคุยถึงอนาคตและการสร้างความเป็นแพร่ที่อยากเห็นด้วยมือเรา ผ่านกระบวนการระดมความคิดด้วยโจทย์ “เราอย่างเห็นเมืองแพร่ในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร” กระแสความสนใจของคนรุ่นใหม่ที่อยากกลับมาพัฒนาบ้านเกิดของตัวเอง เป็นสิ่งที่สังคมไทยให้ความสนใจในปัจจุบัน เมื่อความเจริญต่างๆเริ่มกระจายตัวไปสู่จังหวัดเล็กๆ มากขึ้นกว่าในอดีต เทคโนโลยีในยุคโลกาภิวัตน์เริ่มทำให้การใช้ชีวิตนั้นง่ายขึ้น บวกกับการใช้ชีวิตในเมืองหลวงทำให้ผู้คนเหนื่อยล้า สูบพลังสร้างสรรค์ของผู้คนไปในแต่ละวัน ทางเลือกที่จะออกจากเมืองหลวง เพื่อริเริ่มการพัฒนาบ้านเกิดของตนเอง เพื่อให้การใช้ชีวิตเรียบง่ายอย่างยั่งยืนได้ในอนาคต หนึ่งในเป้าหมายของเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาตัวเองได้อย่างเข้มแข็งได้นั้นคือจังหวัดแพร่ แห่งนี้ แต่ในอีกด้านหนึ่งการกลับมาบ้านเกิดอาจเป็นโจทย์ที่ยาก เพราะเมืองแพร่ยังคงเผชิญปัญหาที่เด็กวัยรุ่นจำนวนไม่น้อย เมื่อถึงวัยที่ก้าวเข้าสู่การเรียนระดับอุดมศึกษา หรือวัยทำงาน มักเลือกที่จะเดินทาง มุ่งสู่เมืองหลวงอย่างกรุงเทพ หรือจังหวัดหัวเมืองอย่างเชียงใหม่ เพื่อเรียนต่อหรือหางานทำ เพราะเมืองแพร่ไม่ได้มีสถานศึกษา หรือมีสาขาอาชีพที่หลากหลายมารองรับความต้องการของคนรุ่นใหม่ จนเกิดเป็นช่องว่างทางเวลาของคนอายุช่วงวัยรุ่นที่หายไปจากบ้านเกิดตัวเอง และไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในจังหวัดแพร่แห่งนี้เท่านั้น วัฏจักรการมุ่งสู่เมืองศูนย์กลางความเจริญนี้ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องกับจังหวัดอื่นๆเช่นกัน แต่แล้วคำถามยังไม่จบ เมื่อวัยรุ่นที่กลับมาสู่บ้านเกิดในเมืองเล็กๆแห่งนี้ พวกเขาก็ยังไม่เห็นอนาคตการใช้ชีวิตอยู่ด้วยไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ คำถามที่ว่า “กลับมาบ้านแล้วเราจะทำอะไร” หรือ “เมืองแพร่ไม่มีอะไรให้ทำ” “จะเริ่มต้นพัฒนาเมืองแพร่ให้ดีขึ้นด้วยตัวเองอย่างไรได้บ้าง” ยังคงเป็นโจทย์ที่เขายังต้องเผชิญเมื่อกลับมาอยู่ที่นี่ จากคำถามต่างๆ และปัญหาที่เราพบ พวกเราทีม คิด space จึงมีโอกาสร่วมมือกับกลุ่ม “เครือข่ายลูกหลานเมืองแพร่” ซึ่งเป็นกลุ่มที่คนรุ่นใหม่ที่กลับมาอยู่บ้านเกิดรวมตัวกันเพื่อสร้างสรรค์กิจกรรมพัฒนาเมืองแพร่ เพื่อจัดกิจกรรมสำรวจ needs assesment ทัศนคติของคนรุ่นใหม่ ที่อยู่ในจังหวัดแพร่ ว่ามีความต้องการที่จะเห็นเมืองแพร่พัฒนาไปในทิศทางใดบ้าง หรือต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อเกิดสวัสดิการอย่างไรที่จะสนับสนุนการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพในจังหวัดแห่งนี้ จนเกิดเป็นกิจกรรม […]