Tag: การเมือง

  • แนะนำหนังสือ : อ่านความทรงจำ ทำความเข้าใจประวัติศาสตร์จากหนังสือ อ.นิธิ

    แนะนำหนังสือ : อ่านความทรงจำ ทำความเข้าใจประวัติศาสตร์จากหนังสือ อ.นิธิ
    ,

    แนะนำหนังสือ ที่ควรค่าแก่การอ่าน ของ อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์ โดยทีมงาน Book Re:public ปากไก่และใบเรือ “…การศึกษาประวัติศาสตร์ว่า การเขียนประวัติศาสตร์เพื่อรับใช้รัฐประชาชาติ และสถาบันกษัตริย์อันเป็นสถาบันที่เพิ่งเกิดขึ้น และสถาบันที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลาดเวลา ล้วนเป็นเหตุให้การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์พลาดจากความเป็นจริงหรือมิฉะนั้นก็ตื้นเขิน…”ความเป็นรัฐประชาชาติของไทยปัจจุบันเข้มแข็งพอที่จะไม่ต้องสร้างประวัติศาสตร์มาค้ำชูแล้ว ”  หนังสือเล่มนี้เป็นเหมือนปะวัติศาสตร์ทุนนิยมไทยยุคแรก  ที่ศึกษาผ่านงานวรรณกรรม โดยหนังสืออธิบายการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ การเมืองไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ ที่มุ่งเน้นอธิบายการเปลี่ยนแปลงของสังคม ต้นรัตนโกสินทร์ ที่มีแรงผลักดันจากภายในเป็นสำคัญ  ด้วยองค์ประกอบสำคัญ เช่น แรงงาน, พ่อค้า,และชาวจีน รวมไปถึงจีนบางพวกที่แทรกซึมเข้าไปในระบบศักดินาและ ถูกกลืนเป็นชนชั้นสูงของไทย ซึ่งสะท้อนออกมาผ่านการศึกษางานวรรณกรรมในยุคนั้นด้วย การเมืองไทย สมัยพระเจ้ากรุงธนบุรี ทำไมต้องอ่าน กรุงธนบุรี | อ่านเล่นนี้ เพื่อเข้าใจ “เจ๊ก” หนังสือประวัติศาสตร์กษัตริย์ ที่ทำให้ผู้อ่านเห็นทัศนคติของ อ.นิธิที่มองพระเจ้ากรุงธนบุรีในฐานะมนุษย์ ไม่ใช่ทวยเทพ เป็นทั้งมนุษย์ที่มีกิเลสตัณหา ความสง่างาม และยิ่งใหญ่ การมีตัวตนของพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่สามารถตัดขาดการเมือง และการมองเห็นความหลากหลายของวิถีชีวิตชนชาติจีน และคนอื่นๆ ในประวัติศาตร์ไทยไม่ได้เช่นกัน “…แม้ว่าในสมัยหลังความรู้สึกของคนไทยที่มีต่อ “เจ๊ก” (ซึ่งใช้ในที่นี้เพื่อให้หมายุคงจีนและเชื้อสายจีนในเมืองไทย)ไม่สู้ดีนัก และทำให้ไม่อยากเห็นวีรบุรุษของชาติเป็น “เจ๊ก”…” ชาติไทย เมืองไทย แบบเรียน… Read more

  • ส่ง สส.พลังหญิง เดินหน้าเข้าสภา

    ส่ง สส.พลังหญิง เดินหน้าเข้าสภา

    จากผลการเลือกตั้ง 66 ของประชาชนชาวเชียงใหม่ เราได้ส.ส.เขต ที่เป็นผู้หญิงคนรุ่นใหม่ไฟแรงจากพรรคฝั่งประชาธิปไตย ‘พรรคก้าวไกล’ และ ‘พรรคเพื่อไทย’ ถึง 5 คน จากกระแสการเมืองที่เปลี่ยนทิศ ความพยายาม ความตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงและสร้างการเมืองใหม่ของผู้หญิงรุ่นใหม่จะเป็นอย่างไร Book Re:public จึงประสานงานและได้รับการตอบรับจากว่าที่ ส.ส. ทั้งหมด 4 คน มาพูดคุยแลกเปลี่ยนถึงอนาคตที่อยากเห็นในสนามการเมืองยุคนี้ รวมทั้งเบื้องหลังประสบการณ์การอาสาเข้ามาเป็นตัวแทนประชาชน และการทำงานเพื่อสร้างแนวร่วมทางความคิดฝั่งประชาธิปไตยในแบบของพวกเขา ในวงเสวนา “ส่ง สส.พลังหญิง เดินหน้าเข้าสภา” สรุปผลการนับคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต จังหวัดเชียงใหม่ สรุปผลการนับคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขต จังหวัดเชียงใหม่อย่างไม่เป็นทางการ ดังนี้ทั้ง 10 เขตในเชียงใหม่ เราได้ ว่าที่ส.ส. ที่เป็นผู้หญิงรุ่นใหม่ ถึง 5 เขต โดยมี เขต 1 : นางสาวเพชรรัตน์ ใหม่ชมภู 2 พรรคก้าวไกล 48,823 คะแนนประกอบด้วย อำเภอเมืองเชียงใหม่ (ยกเว้นตำบลหนองหอย ตำบลวัดเกต ตำบลหนองป่าครั่ง และตำบลท่าศาลา)… Read more

  • ประเทศไทยไปทางไหน

    ประเทศไทยไปทางไหน
    ,

    ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมาสังคมไทยมีความตื่นตัวทางการเมืองเป็นอย่างมาก จนนำมาสู่หมุดหมายของการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองและวัฒนธรรมครั้งสำคัญ ซึ่งมีผลต่อทัศนคติ และการใช้ชีวิตของคนในสังคมไทย และจากสิ่งที่เกิดขึ้น พวกเราจึงมีคำถามใหญ่ร่วมกันว่า “ประเทศไทยของเราจะไปทางไหน”, “สังคมการเมืองไทยจะนำมาสู่จุดเปลี่ยนในประเด็นใดบ้าง” และ “เราในฐานะประชาชนจะต้องรับมืออย่างไร” ในโอกาสที่สังคมไทยกำลังก้าวผ่านจากปี 2022 สู่ปี 2023 Book Re:public จึงชวนผู้เชี่ยวชาญทั้งด้าน สังคมศาสตร์, รัฐศาสตร์ และ กฎหมาย มาร่วมแกะรอยปรากฏการณ์ทางสังคมการเมืองในปัจจุบัน สู่การคาดการณ์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ผ่านงานเสวนา “ประเทศไทยไปทางไหน : ในมุมมองของนักกฎหมาย นักสังคมศาสตร์ และนักรัฐศาสตร์” ร่วมพูดคุยกับ ชวนคุยโดย นาวินธิติ จาก SAAP 24:7 เนื้อหาบางส่วนจากเสวนา “ประเทศไทยไปทางไหน” คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของแวดวงกฎหมาย อ.นัทมน : ในปัจจุบันตัวบทกฎหมายที่เราคุ้นชินอยู่ เมื่อนำมาใช้ในชีวิตจริงมันคนละเรื่องกัน การใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย เราไม่สามารถเชื่อในตัวหนังสือได้ แม้มันมีเจตนารมณ์อธิบายกำกับอยู่ แต่การใช้กฎหมายในความเป็นจริงต่างกันกับในหนังสือ ยกตัวอย่างคดีที่กำลังติดตามคดีอยู่ หรือได้ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายในบางคดี มันเหมือนกับเราซื้อหวย คำตัดสินคดีของผู้พิพากษา เราฟังแล้วมีแววตัดสินคดีมีความสอดคล้องกับสิ่งที่เราเรียนมา พออ่านคำพิพากษาในตอนท้ายกลับกลายเป็นว่า ‘คดีพลิก’ มันกลับเป็นคนละทางกับที่เราคาดการไว้ อนาคตถ้าเราไม่สามารถแก้ไขกระบวนการยุติธรรม… Read more

  • ‘รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ วงเสวนาที่ชวนคนรุ่นใหม่มาคุยหนังสือ

    ‘รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ วงเสวนาที่ชวนคนรุ่นใหม่มาคุยหนังสือ
    ,

    ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พวกเรา Book Re:public และเพื่อนๆ คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสเดินทางไปจัดงานเสวนาเล็กๆ ที่จังหวัดแพร่ ร่วมกับกลุ่ม ABO+ ในชื่องาน ’รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ ชวนตัวแทนคนรุ่นใหม่จากจังหวัดเชียงใหม่ ไปเปิดวง Book talk ขนาดกะทัดรัดในพื้นที่บ้านเก่าที่ถูกนำมารีโนเวทให้กลายเป็นห้องโถงสีขาวสองชั้น สำหรับรองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในจังหวัดแพร่ให้ได้มีพื้นที่โชว์ศักยภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองให้เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ทางปัญญา ภายใต้ชื่อ ABO+ Phrae Creative Wisdom Space   โดยมี ‘พรีเมียร์’ นาวินธิติ  ตัวแทนจากกลุ่ม SAAP 24:7 หนึ่งในสมาชิก Humanร้าย 5,  ‘ขวัญ’ ขนิษฐา ตัวแทนกลุ่ม SYNC space หนึ่งในสมาชิก Human ร้าย5  และ ‘เจ๋ง’ สิรศิลป์ ตัวแทนนักศึกษาสาขา Media art and Design มหาลัยเชียงใหม่  ในงานเสวนาจัดขึ้นจาก ความเห็นของ… Read more

  • เพราะรักและการปฏิวัติ จึงอ่านต่อ

    เพราะรักและการปฏิวัติ จึงอ่านต่อ
    ,

    Book Re: public อยากชวนทุกคน”อ่านต่อ”จากหนังสือ “รัก และ การปฏิวัติ” โดย ธิกานต์ ศรีนารา แกะรอยงานวรรณกรรมชิ้นสำคัญ สอดส่องประวัติศาสตร์และบรรยากาศความรักที่ก้าวหน้า กับหนังสือแนะนำอ่านต่อ และหนังสือบางส่วนที่ถูกยกขึ้นมาวิเคราะห์ในเล่มนี้เพื่อทำความเข้าใจมิติต่างๆ ของบรรยากาศหนุ่มสาวที่ก้าวหน้าในประวัติศาสตร์ไทย(ในช่วงทศวรรษ 2490–2520). รักและการปฏิวัติ จากหนังสือ รักและการปฏิวัติโดย ธิกานต์ ศรีนาราที่พูดถึงการเมืองวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่ของงานวรรณกรรม กวี และบทเพลงของไทยในช่วงสงครามเย็น จนถึงช่วงสงครามประชาชนในทศวรรษ 2510 การต่อสู้ช่วงชิงนิยามของ”ความรัก” ที่ให้ฝูกโยงกับวิถีชีวิต”สามัญชน” ในขณะเดียวกันยิ่งตอกย้ำความเข้มข้นการวิพากษ์ ชนชั้น“ศักดินา” ซึ่งการเมืองวัฒนธรรมเหล่านี้ส่งต่ออุดมการบรรยากาศของ”การปฏิวัติ”เพื่อความหวัง ความฝันแบบใหม่ไปควบคู่กับการก่อร่างสร้างอัตลักษณ์ของความเป็นประชากรโลกที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และการเปลี่ยนแปลงของคนหนุ่มสาวที่ไม่อาจหวนกลับไปสู่ระบบอำนาจ ขนบ ธรรมเนียมล้าหลังอีกต่อไป ในเล่มนี้ยังมีหนังสือและงานวรรณกรรมที่ถูกหยิบยกขึ้นมาวิเคราะห์และชวนอ่านต่อที่น่าสนใจเช่น และแล้วความเคลื่อนไหวก็ปรากฎ โดย ประจักษ์ ก้องกีรติ , ปีศาจ โดย เสนีย์ เสาวพงศ์ , จนกว่าเราจะพบกันใหม่ โดย ศรีบูรพา และอื่นๆ  อ่านต่อ หมวดประวัติศาสตร์“ปฏิวัติ” ทำความเข้าใจปรากฎการณ์ทางการเมือง บรรยากาศของการลุกขึ้นมาปฎิวัติในชีวิตประจำวันของคนวัยหนุ่มสาวและกลุ่มหัวก้าวในช่วง 2475-2500 ในไทยกับหนังสือ… Read more

  • อ่านอะไรในประวัติศาสตร์เวลา : จาก พฤษภาคม 2535 – พฤษภาคม 2553

    อ่านอะไรในประวัติศาสตร์เวลา : จาก พฤษภาคม 2535 – พฤษภาคม 2553
    ,

    .. ประวัติศาสตร์การเมืองที่รัฐเขียน เรื่องราว น้ำเสียงถูกจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ ลดทอนรายละเอียดของอารมณ์ความรู้สึก รัฐมีอำนาจที่สามารถสร้างสิ่งที่เราต้อง “จดจำ” และด้านหนึ่งอำนาจรัฐก็ “ทำให้ลืม” ในสิ่งที่เรียกว่า อาขญากรรมรัฐ (state crime) ด้วยเช่นกัน จากหลักฐานประวัติศาสตร์ที่แสดงให้เห็นว่าประชาชนไม่ได้สยบยอม และยังคงต่อสู้เพื่อ ไม่ให้ “ความจริง” นั้นเลือนหายไป ยังมีเส้นทางของประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นและขนานกันไป ซึ่งอาจะจะมีเพียงจุดเริ่มต้นที่เป็นผลพวงจากการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตย ที่เกิดขึ้นอย่างยาวนาน หนังสือการประวัติศาสตร์เหล่านี้จึงเป็นส่วนหนึ่งของหลักฐานการบันทึกเหตุการณ์จากหลากหลายมุมมอง น้ำเสียง และทัศนคติ ของประชาชนชั้นสามัญ จาก ปี พ.ศ. 2535 (และก่อนหน้านี้) จนถึง 2553 ยังเป็นเป้าหมายสำคัญที่พวกเขาไม่ต้องการให้การต่อสู้กับความรุนแรงที่รัฐกระทำถูกทำให้ลืมเลือนไป เพราะนี่คือช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านที่สำคัญของประชาชน  ชวนอ่านประวัติศาสตร์คู่ขนาน เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทยที่เกิดขึ้นในเดือน “พฤษภาคม” หนังสือเปิดพื้นที่ทำความเข้าใจเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์จากหลากหลายมุมมองของสามัญชน 19-19 ภาพชีวิต และการต่อสู้คนเสื้อแดง เมื่อภาพถ่ายคือพลังของการบอกเล่าเรื่องราว และการบันทึกประวัติศาสตร์เชิงประจักษ์ ชวนให้ผู้อ่านสืบเสาะหาเรื่องราวภายใต้เวลาที่หยุดนิ่ง …หลังจากรัฐประหารวันที่ 19 กันยายน 2549 ประชาชนกลุ่มหนึ่งได้รวมตัวชุมนุม เดินขบวนเคลื่อนไหวกิจกรรมทางการเมือง ด้วยท่าทีที่มีต่อ ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย รวมทั้งกลุ่มคนที่แสดงจุดยืนต่อความเป็นประชาธิปไตย จุดที่เป็นเป้าหมายร่วมกันคือการปฎิเสธรัฐประหารและผลผลิตของเผด็จการ… Read more

  • เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนที่5]

    เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนที่5]

    เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนจบ] ช่วงที่ 5 หัวข้อ “อันเนื่องมาแต่ “ชาติ…ยอดรัก”” โดย อาจารย์เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ Read more

  • เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนที่4]

    เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนที่4]
    ,

    งานเสวนา ชาติที่เรา(จะ)รัก 79 ปี นิธิ เอียวศรีวงศ์ : วันที่ 25 พฤษภาคม 2019 ช่วงที่ 4 หัวข้อ “ประชาธิปไตยอันมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ” โดย อาจารย์เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Read more

  • เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนที่3]

    เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนที่3]
    ,

    งานเสวนา ชาติที่เรา(จะ)รัก 79 ปี นิธิ เอียวศรีวงศ์ : วันที่ 25 พฤษภาคม 2019 ช่วงที่ 3 หัวข้อ “ชาติที่เราจะรักชาติที่เราจะรัก : ผ่านการมองประวัติศาสตร์ชาติจีน” โดย อาจารย์วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Read more

  • เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนที่2]

    เสวนา 79 ปี นิธิ ชาติที่เรา(จะ)รัก [ตอนที่2]

    งานเสวนา ชาติที่เรา(จะ)รัก 79 ปี นิธิ เอียวศรีวงศ์ : วันที่ 25 พฤษภาคม 2019 ช่วงที่ 2 หัวข้อ “ชาตินิยมกับปรากฎการณ์ Brexit” โดย อาจารย์ภาณุวัฒน์ พันธุ์ประเสริฐ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Read more