Tag: booktalk

  • 3 เล่ม วิพากษ์การศึกษาไทย แกะรอยวัฒนธรรมอำนาจนิยม

    3 เล่ม วิพากษ์การศึกษาไทย แกะรอยวัฒนธรรมอำนาจนิยม

    3 เล่ม วิพากษ์การศึกษาไทย แกะรอยวัฒนธรรมอำนาจนิยมภายใต้บริบทเรื่อง เครื่องแบบ ร่างกาย ระเบียบวินัย และการต่อต้าน ในปี 2020 สังคมไทยมีปรากฎการณ์ #1ธันวาบอกลาเครื่องแบบ ที่เหล่านักเรียน นักศึกษาได้รณรงค์แต่งชุดไปรเวทไปโรงเรียน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างการถกเถียงและผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาบางส่วนจนได้รับบทลงโทษจากกฏระเบียบของสถานศึกษาและผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อกรณี “หยก”แต่งชุดไปรเวทและย้อมผมไปโรงเรียน จึงทำให้ประเด็นเครื่องแบบ ทรงผมของโรงเรียนวนกลับมาเป็นที่ถกเถียงกันอีกครั้ง ด้วยความเข้มข้นของค่านิยมระเบียบวินัยของระบบการศึกษาไทยที่ฝังลึก จึงทำให้ประเด็นนี้ต้องต่อสู้มาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ “หยก” แต่ยังมีแต่ยังมีนักเรียน นักศึกษาและอีกหลายคนที่ยังยืนยันว่าสิ่งนี้คือปมปัญหาใหญ่ที่สังคมไทยต้องยกมาพูดคุยและหาหนทางสร้างการเปลี่ยนแปลง Book Re:public จึงอยากชวนทุกคนทำความเข้าใจอำนาจที่ควบคุมอยู่เบื้องหลังสิ่งที่เรียกว่า “เครื่องแบบ” “ระเบียบวินัย” มีความเป็นมาอย่างไรในประวัติศาสตร์ไทย, การทำงานของเครื่องแบบและกฎเกณฑ์ในสถานศึกษาควบคุมเนื้อตัวร่างกายและความคิดของคนในสังมอย่างฝังลึกยาวนานได้อย่างไร และเรื่องราว ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของคนรุ่นใหม่ที่ต้องปะทะกับอำนาจนิยมล้าหลังในสถานศึกษาที่ไม่สอดรับกับสังคมโลกที่หมุนไปข้างหน้าในหนังสือสามเล่มนี้ เลาะตะเข็บอำนาจประวัติศาสตร์การศึกษาไทย :ว่าด้วยความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างการศึกษาในสังคมไทย จากการรวมศูนย์อำนาจของรัฐ การรัฐประหาร และระบบราชการ ตั้งแต่ พ.ศ.2490-2562 (On Thai-Education) โดย : ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ เขียน “…ภายใต้ระบบและวัฒนธรรมของราชการที่มีลักษณะปกครองแบบแนวดิ่งเน้นทำตามคำสั่ง ควบคุมและจับผิด ทำให้การควบคุมพฤติกรรมและวินัยของนักเรียนกลายเป็นภารกิจสำคัญของโรงเรียนไปด้วย อาจจะกล่าวได้ว่า การควบคุมเรือนร่างนักเรียนผ่านเครื่องแบบเป็นจุดเริ่มต้นไปสู่การควบคุมเรือนร่างและการละเมิดสิทธิ์เหนือร่างกายอื่นๆ โรงเรียนมีสิทธิ์อำนาจเด็ดขาดในการดูแลชีวิตและความเป็นไปของนักเรียน ไม่มีองค์กรหรือกลไกลใดมาคานอำนาจ… Read more

  • ประเทศไทยไปทางไหน

    ประเทศไทยไปทางไหน
    ,

    ในช่วงสองถึงสามปีที่ผ่านมาสังคมไทยมีความตื่นตัวทางการเมืองเป็นอย่างมาก จนนำมาสู่หมุดหมายของการเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองและวัฒนธรรมครั้งสำคัญ ซึ่งมีผลต่อทัศนคติ และการใช้ชีวิตของคนในสังคมไทย และจากสิ่งที่เกิดขึ้น พวกเราจึงมีคำถามใหญ่ร่วมกันว่า “ประเทศไทยของเราจะไปทางไหน”, “สังคมการเมืองไทยจะนำมาสู่จุดเปลี่ยนในประเด็นใดบ้าง” และ “เราในฐานะประชาชนจะต้องรับมืออย่างไร” ในโอกาสที่สังคมไทยกำลังก้าวผ่านจากปี 2022 สู่ปี 2023 Book Re:public จึงชวนผู้เชี่ยวชาญทั้งด้าน สังคมศาสตร์, รัฐศาสตร์ และ กฎหมาย มาร่วมแกะรอยปรากฏการณ์ทางสังคมการเมืองในปัจจุบัน สู่การคาดการณ์สิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต ผ่านงานเสวนา “ประเทศไทยไปทางไหน : ในมุมมองของนักกฎหมาย นักสังคมศาสตร์ และนักรัฐศาสตร์” ร่วมพูดคุยกับ ชวนคุยโดย นาวินธิติ จาก SAAP 24:7 เนื้อหาบางส่วนจากเสวนา “ประเทศไทยไปทางไหน” คาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของแวดวงกฎหมาย อ.นัทมน : ในปัจจุบันตัวบทกฎหมายที่เราคุ้นชินอยู่ เมื่อนำมาใช้ในชีวิตจริงมันคนละเรื่องกัน การใช้กฎหมาย การตีความกฎหมาย เราไม่สามารถเชื่อในตัวหนังสือได้ แม้มันมีเจตนารมณ์อธิบายกำกับอยู่ แต่การใช้กฎหมายในความเป็นจริงต่างกันกับในหนังสือ ยกตัวอย่างคดีที่กำลังติดตามคดีอยู่ หรือได้ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายในบางคดี มันเหมือนกับเราซื้อหวย คำตัดสินคดีของผู้พิพากษา เราฟังแล้วมีแววตัดสินคดีมีความสอดคล้องกับสิ่งที่เราเรียนมา พออ่านคำพิพากษาในตอนท้ายกลับกลายเป็นว่า ‘คดีพลิก’ มันกลับเป็นคนละทางกับที่เราคาดการไว้ อนาคตถ้าเราไม่สามารถแก้ไขกระบวนการยุติธรรม… Read more

  • ยืมอ่าน-ยืนหยุดขัง มุมยืมหนังสือที่เปิดทำการเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที

    ยืมอ่าน-ยืนหยุดขัง มุมยืมหนังสือที่เปิดทำการเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที
    ,

    จากกิจกรรมยืนหยุดขังที่เกิดขึ้นในจังหวัดเชียงใหม่ดำเนินมาจนถึงวันที่ 10 ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์ นอกจากกิจกรรมหลักที่ประชาชนยืนสงบนิ่งในทุกๆวันช่วงเวลา 5 โมงเย็นเป็นต้นไป สิ่งที่เรามักจะสังเกตเห็นเมื่อไปร่วมกิจกรรม คือการยืนอ่านหนังสือของผู้คนหลากหลายช่วงอายุ หลากหลายเนื้อหาความสนใจ  จากการเข้าไปสอบถาม หลายคนที่ยืนอ่านหนังสือบอกว่า ทุกวันจะมีกล่องลังกระดาษที่บรรจุหนังสือหลากหลายประเภทวางไว้อยู่มุมหนึ่งของลานฯ ให้คนที่มาร่วมกิจกรรมได้ยืมอ่านขณะที่ยืน และนำไปคืนเมื่อเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที สิ้นสุดลง  ซึ่งเจ้าของไอเดีย “ยืมหนังสือ” ช่วงของการทำกิจกรรมยืนหยุดขังคือ “หมอมีน”และ “ซู่หมู” จากสมาชิกของผู้เข้าร่วมกิจกรรมยืนหยุดขัง  มาสู่การสร้างสรรค์กิจกรรม “ยืมอ่าน -ยืนหยุดขัง” เกิดจากความตั้งใจที่อยากจะเปิดพื้นที่แลกเปลี่ยนหนังสือให้คนที่มาร่วมยืนได้อ่านหนังสือในช่วงเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที เริ่มต้นไอเดีย “ยืมอ่าน -ยืนหยุดขัง” ซู่หมู : เรามาร่วมกิจกรรมยืนหยุดขังตั้งแต่ช่วงแรก โดยส่วนตัวเราเป็นคนสนใจ และสังเกตการใช้พื้นที่สาธารณะในการทำกิจกรรมของผู้คน  แล้วเห็นว่ากิจกรรมยืนหยุดขังที่เกิดขึ้นบริเวณลานสามกษัตริย์มีพัฒนาการเป็นไปตามธรรมชาติโดยตัวเอง ทั้งคนยืนที่มาเพิ่มขึ้น กิจกรรมที่ทำระหว่างยืนก็มีคนเอา podcast มาฟังบ้าง หาหนังสือมาอ่านบ้าง เราเลยไปชวน ‘หมอมีน’ มาอ่านหนังสือที่งานนี้ ประจวบเหมาะว่าหมอมีนเป็นคนมีหนังสือเยอะ เลยชวนกันหยิบเอาหนังสือที่มียกใส่กล่องมาตั้งไว้ที่งานให้คนยืมอ่าน หมอมีน : เราเอาหนังสือที่เรามีอยู่แล้วในห้องมาให้คนยืมอ่านที่นี่… Read more

  • อ่านหยุดขัง – ยืนหยุดขัง เชียงใหม่

    อ่านหยุดขัง – ยืนหยุดขัง เชียงใหม่
    , ,

    “กิจกรรมยืนหยุดขัง” เป็นกิจกรรมการแสดงออกทางการเมืองอย่างสันติวิธีเพื่อเรียกร้องการปล่อยตัว แกนนำราษฎร ที่ถูกคุมขังโดยไม่ได้รับสิทธิประกันตัว และไม่เห็นด้วยต่อกระบวนการยุติธรรมที่บังคับใช้กับประชาชนในเวลานี้ กิจกรรมยืนหยุดขังกำลังกระจายไปสู่จังหวัดอื่นๆด้วยเช่นกัน ที่จังหวัดเชียงใหม่กิจกรรมนี้ดำเนินมาถึงวันที่ 8 ประชาชนชาวเชียงใหม่ยังคงมาร่วมกิจกรรมอย่างไม่ขาดสายทุกวัน ตั้งแต่เวลา5โมงเย็นเป็นต้นไป โดยทุกคนพร้อมใจกันยืนสงบนิ่งเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที ที่ลานหน้าอนุสาวรีย์สามกษัตริย์  นอกจากเราจะเห็นการรวมตัวกันของคนหลากหลายวัยเพื่อมาทำกิจกรรม เรายังสังเกตุเห็นว่าหลายคนต่างก็มีกิจกรรมเสริมในรขณะยืน อย่างเช่น การอ่านหนังสือ หรือในชื่อกิจกรรม“อ่านหยุดขัง”  หนังสือที่แต่ละคนพกมาอ่าน มีหลากหลายประเภท ทั้งหนังสือการเมือง วรรณกรรม บทกวี จนกลายเป็นภาพสัญลักษณ์การแสดงออกทางการเมืองที่ซ้อนทับความหมายเดิมของพื้นที่แห่งนี้ ทั้งเป็นพื้นที่แห่งความนิ่งเงียบที่แสดงให้เห็นถึงความไม่จำยอมต่ออำนาจรัฐ และเป็นพื้นที่แห่งการอ่าน  อ่านเพื่อเดินทางผ่านตัวหนังสือ อ่านเพื่อการต่อต้าน อ่านเพื่อการเบิกเนตร อ่านเพื่อรักษาอุดมการประชาธิปไตย ซึ่งทุกอย่างเกิดขึ้นพร้อมกันในเวลา 1 ชั่วโมง 12 นาที  สำรวจหนังสือที่ชาวเชียงใหม่หยิบมาอ่านในกิจกรรม”ยืนหยุดขัง”วันที่ 8 เนรเทศ  ภู กระดาษ “ผมกำลังจะทำโปรเจ็คศิลปะที่ขอนแก่น เพื่อนเลยแนะนำให้อ่านเล่มนี้ เพื่อทำความเข้าใจความเป็นอีสาน ในอีกมุมหนึ่ง เล่มนี้เรื่องสั้นที่ใช้ภาษาท้องถิ่นในการนำเสนอวิถีชีวิตของคนอีสาน ความยากลำบากในการใช้ชีวิต ที่ต้องแปรผันไปตามการเมือง การปกครองของสังคมไทย โดยเฉพาะชนชั้นแรงงาน หรือชนชั้นล่าง” โอลด์รอยัลลิสต์ดาย  วาด… Read more

  • ก้าวใหม่ในการทำงานของ Book Re:public ในปี 2021

    ก้าวใหม่ในการทำงานของ Book Re:public ในปี 2021

    หากใครเป็นแฟนคลับของร้านหนังสืออิสระ Book Re:public คงยังจำกันได้ว่าเราเปิดร้านครั้งแรกเมื่อปี 2011 ที่ สาขาคันคลอง จนย้ายมาที่ สาขาถนนกองบิน 41 (ปี2015 – 2019) และในครั้งที่ 3 ณ เวลานี้ เราได้ย้ายมาอยู่ที่ ซอยวัดอุโมงค์ แม้ขนาดของร้านจะเล็กลงกว่าเมื่อก่อนมาก แต่ไม่ใช่อุปสรรคในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ของพวกเราในปี 2021 นี้ ย้อนกลับไปในช่วงเวลา 8 ปีก่อนหน้านี้ สังคมเชียงใหม่มีแนวโน้มของการตื่นรู้ในประเด็นทางสังคมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  ก้าวแรกของ Book Re:public เราจึงมีความตั้งใจที่จะสร้างพื้นที่แห่งการเรียนรู้ ให้กับคนรุ่นใหม่ในเมืองเล็กๆ แห่งนี้ จากคำถามและข้อจำกัดต่างๆ ของการเข้าถึงความรู้ ข้อมูลที่หลากหลาย และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ที่ยังจำกัดอยู่แต่ในพื้นที่การศึกษา และในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ จึงเป็นเป้าหมายแรกของเรา ว่าจะทำอย่างไรให้ความรู้เหล่านั้น กระจายมาสู่พื้นที่อื่นๆได้บ้าง จนนำไปสู่การออกแบบพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในรูปแบบของร้านหนังสือ ที่มีพื้นที่สำหรับจัดงานเสวนาวิชาการ ซึ่งได้คัดสรร หมุนเวียนเนื้อหาให้เข้ากับกระแสความสนใจของคนในสังคมในแต่ละช่วงเวลา ด้วยวิทยากร ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาด้านต่างๆ ทั้งการเมือง ,ศิลปะวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์คู่ขนาน ,ความหลากหลายทางเพศ , กลุ่มชาติพันธุ์… Read more

  • ล้านนานอก(ก)รอบ

    ล้านนานอก(ก)รอบ
    ,

    ล้านนา นอก(ก)รอบ: อ่านประวัติศาสตร์ล้านนาผ่านแว่นตาคู่ใหม่ ชวนคุยโดย – อาจารย์วิชญา มาแก้วอาจารย์ประจำภาควิชาวัฒนธรรมศึกษา มหาวิทยาราชภัฏเชียงใหม่ – คุณเฉลิมวุฒิ ต๊ะคำมีนักวิชาการอิสระด้านล้านนาคดีศึกษา – อาจารย์ มนวัธน์ พรหมรัตน์อาจารย์ประจำสำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ในวันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2019 อ.มนวัธน์ : สวัสดีท่านผู้ฟังและสวัสดีผู้ชมไลฟ์ที่กำลังชมตอนนี้และจะชมต่อไปในอนาคตด้วย วันนี้หัวข้อล้านนานอกรอบ หรือ นอกกรอบ จะอะไรก็แล้วแต่จะอ่านกันเพราะว่าทำกรอบไว้แล้ว จริงๆงานนี้สืบเนื่องมาจากประมาณเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ทางมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางก็ได้ร่วมเสวนาชิ้นหนึ่งก็คือเสวนา resetalizing ล้านนา ออกแบบสูตรอำนาจล้านนา ซึ่งเป็นการพยายามร่วมกันของกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเกี่ยวกับล้านนาที่จะเอาล้านนาออกจากล้านนาที่เรารู้จัก ขยายวงเกี่ยวกับความรู้ล้านนาศึกษาออกไปจากสูตรอำนาจเดิมในแง่สูตรอำนาจในเชิงการเมืองการปกครองแบบเชียงใหม่และสูตรอำนาจความรู้ในสถาบันการศึกษาหลักๆ ที่เกี่ยวกับล้านนาคดีศึกษา หรือล้านนาศึกษาทั้งหลายด้วย ซึ่งในวันนั้นเราทั้งสามคนก็ได้ไปพูดในวันนั้นเหมือนกันหมด ส่วนตัวผมก็ได้ไปเสนองานในเรื่องของพุทธและก็ศิลป์หริภุญชัยใต้แนวล้านนา ส่วนอาจารย์อาจารย์วิชญา มาแก้ว ที่มหาวิทยาราชภัฏเชียงใหม่ ก็ได้ไปพูดล้านนาไม่เท่ากับเชียงใหม่ ไปพูดในประเด็นเกี่ยวกับการทำความเข้าใจคอนเซปกี่ยวกับล้านนาทั้งเรื่องการเมืองหรือวัฒนธรรมล้านนนาว่ามันออกไปจากความคิดที่ว่าล้านนาคือเชียงใหม่อย่างไรได้บ้าง ซึ่งวันนี้พวกเราอยากจะคุยเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้หลักฐาน การแปล การแปลง การตีความ เพราะว่าทุกทีแว่นในการอ่านล้านนาหรือทำความเข้าใจคดีศึกษาหรือว่าประวัติศาสตร์ล้านนาทั้งหลายมันมีแว่นอยู่แทบไม่กี่อัน และแว่นเหล่านั้นเราจะวิพากษ์มันอย่างไง แล้วเราจะหาแว่นใหม่ได้ไหม หรืออาจจะไม่บอกว่าสร้างแว่นใหม่กัน หรือมีวิธีการมองอื่นๆอีกไหม หรืออาจจะไม่ผ่านแว่นแต่ผ่านอย่างอื่นซึ่งเราก็ไม่รู้ จุดตั้งต้นของการอ่านหลักฐานล้านนา อ.มนวัธน์… Read more

  • อ่านการเมืองเรื่องภาษากับท่งกุลาลุกไหม้

    อ่านการเมืองเรื่องภาษากับท่งกุลาลุกไหม้
    ,

    ถอดเทปเสวนา: อ่านการเมืองเรื่องภาษากับท่งกุลาลุกไหม้ Read more

  • จิบชา อ่านหนังสือรับมือ 2019

    จิบชา อ่านหนังสือรับมือ 2019
    ,

    เสวนาแนะนำหนังสือ : จิบชา อ่านหนังสือรับมือ 2019 Read more

  • ​Through The Thrones

    Through The Thrones : Game of Thrones Read more

  • AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ

    AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ งานเปิดตัวหนังสือ ” AUTONOMIA ทุนนิยมความรับรู้ แรงงานอวัตถุ และการเมืองของการปฏิวัติ ” พร้อมพูดคุยกับผู้เขียน เก่งกิจ กิติเรียงลาภ จากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่จะมาเล่าเรื่องราว ที่มา และประเด็นเนื้อหาภายในเล่ม ชวนคุยโดย ทัศนัย เศรษฐเสรี จากสาขา สื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม 2017 “ขบวนการ Autonomia สามารถอ่านในฐานะเศรษฐศาสตร์การเมือง ปรัชญาการเมือง หรือสังคมวิทยาก็ได้ ความสนใจและคำถามของผมต่อ Autonomia คือมาร์กซิสต์จะยังสามารถใช้อธิบายสังคมปัจจุบันได้หรือไม่ ขบวนการเคลื่อนไหวของแรงงานนั้นตายลงไปแล้วจริงหรือไม่ แล้วเราที่เฉื่อยชาจะสามารถกลายเป็นองค์ประธานของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร……”– เก่งกิจ กิติเรียงลาภ “ความคิดของ Spinoza ไม่ได้พูดถึงเสรีภาพในสถานะabsolute แต่อธิบายว่าเสรีภาพนั้นอยู่อย่างเกาะเกี่ยวสัมพันธ์กับปัจจัยบางอย่างเสมอ เช่นเดียวกับที่อาจารย์เก่งกิจอธิบายในหนังสือว่าทุกขบวนการนั้นเชื่อมโยงกับปฏิบัติการและบริบทโดยรอบ. ชี้ให้เห็นว่าเสรีภาพแบบมนุษยนิยมที่มองทุกอย่างแยกขั้วชัดเจนนั้นมีปัญหา…….”  – ทัศนัย เศรษฐเสรี “ศักยภาพของมนุษย์หรือพลังทางการผลิตเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อนความสัมพันธ์ทางการผลิต การครอบงำและการขูดรีด……”– เก่งกิจ กิติเรียงลาภ “Autonomia ไม่เคยเชื่อในขบวนการหรือวิธีการต่อสู้ที่เป็นสากลตายตัว แต่เชื่อในการต่อต้านที่เกิดจากการปกป้องการมีชีวิตที่เป็นอิสระ… Read more