Tag: หนังสือวิชาการ

แนะนำหนังสือ : อ่านความทรงจำ ทำความเข้าใจประวัติศาสตร์จากหนังสือ อ.นิธิ

“…การศึกษาประวัติศาสตร์ว่า การเขียนประวัติศาสตร์เพื่อรับใช้รัฐประชาชาติ และสถาบันกษัตริย์อันเป็นสถาบันที่เพิ่งเกิดขึ้น และสถาบันที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลาดเวลา ล้วนเป็นเหตุให้การวิเคราะห์ประวัติศาสตร์พลาดจากความเป็นจริงหรือมิฉะนั้นก็ตื้นเขิน…”
ความเป็นรัฐประชาชาติของไทยปัจจุบันเข้มแข็งพอที่จะไม่ต้องสร้างประวัติศาสตร์มาค้ำชูแล้ว ” 

3 เล่ม วิพากษ์การศึกษาไทย แกะรอยวัฒนธรรมอำนาจนิยม

3 เล่ม วิพากษ์การศึกษาไทย แกะรอยวัฒนธรรมอำนาจนิยมภายใต้บริบทเรื่อง เครื่องแบบ ร่างกาย ระเบียบวินัย และการต่อต้าน ในปี 2020 สังคมไทยมีปรากฎการณ์ #1ธันวาบอกลาเครื่องแบบ ที่เหล่านักเรียน นักศึกษาได้รณรงค์แต่งชุดไปรเวทไปโรงเรียน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างการถกเถียงและผลกระทบต่อนักเรียนนักศึกษาบางส่วนจนได้รับบทลงโทษจากกฏระเบียบของสถานศึกษาและผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นเดียวกันในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเมื่อกรณี “หยก”แต่งชุดไปรเวทและย้อมผมไปโรงเรียน จึงทำให้ประเด็นเครื่องแบบ ทรงผมของโรงเรียนวนกลับมาเป็นที่ถกเถียงกันอีกครั้ง ด้วยความเข้มข้นของค่านิยมระเบียบวินัยของระบบการศึกษาไทยที่ฝังลึก จึงทำให้ประเด็นนี้ต้องต่อสู้มาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่ “หยก” แต่ยังมีแต่ยังมีนักเรียน นักศึกษาและอีกหลายคนที่ยังยืนยันว่าสิ่งนี้คือปมปัญหาใหญ่ที่สังคมไทยต้องยกมาพูดคุยและหาหนทางสร้างการเปลี่ยนแปลง

‘รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ วงเสวนาที่ชวนคนรุ่นใหม่มาคุยหนังสือ

ในวันที่ 8 พฤศจิกายน พวกเรา Book Re:public และเพื่อนๆ คนรุ่นใหม่ได้มีโอกาสเดินทางไปจัดงานเสวนาเล็กๆ ที่จังหวัดแพร่ ร่วมกับกลุ่ม ABO+ ในชื่องาน ’รุ่นเราเอาอะไรมาอ่าน’ ชวนตัวแทนคนรุ่นใหม่จากจังหวัดเชียงใหม่ ไปเปิดวง Book talk ขนาดกะทัดรัดในพื้นที่บ้านเก่าที่ถูกนำมารีโนเวทให้กลายเป็นห้องโถงสีขาวสองชั้น สำหรับรองรับกลุ่มคนรุ่นใหม่ในจังหวัดแพร่ให้ได้มีพื้นที่โชว์ศักยภาพ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาเมืองให้เต็มไปด้วยความสร้างสรรค์ทางปัญญา ภายใต้ชื่อ ABO+ Phrae Creative

[Book Re:commendation] การละครของผู้ถูกกดขี่

[Book Re:commendation] การละครของผู้ถูกกดขี่ “เมื่อคนที่ถือไมโครโฟนมีเพียงคนเดียว ที่เหลือจึงถูกบังคับให้มีสถานภาพเป็นผู้ฟัง เมื่อนักแสดงบนเวทียึดอำนาจการแสดงออกไปเป็นของพวกเขา ผู้ชมก็ได้แต่นั่งอยู่ในความมืดและไร้ความคิดเห็น เมื่อผู้มีอำนาจยึดครองความสามารถในการผลิตเรื่องเล่า ประชาชนจึงถูกยัดเยียดความจริงเพียงด้านเดียว เมื่อนักการตลาดครอบครองพื้นที่ในการพูด ประชาชนก็สูญเสียความสามารถในการผลิตกลายเป็นเพียงผู้บริโภคเชื่องเชื่อ” “การละครของผู้ถูกกดขี่” พยายามเสนอข้อพิสูจน์ที่ว่าการละครคืออาวุธชนิดหนึ่ง และเป็นอาวุธประสิทธิภาพสูงเสียด้วย ชนชั้นปกครองจึงไม่เคยลดละความพยายามที่จะครอบครองศิลปะการละครเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการครอบงำมวลชน ขณะที่ละครก็สามารถเป็นอาวุธในการปลดแอกของมวลชนด้วยเช่นกัน ทั้งยังรวบรวมและนำเสนอปรัชญา-กระบวนการและระบบของการละครของผู้ถูกกดขี่ เพื่อ “ส่งคืน” ความสามารถในการเล่าเรื่องให้กับเหล่าผู้ถูกกดขี่และถูกช่วงชิงเสียงของตนเองไป… การละครของผู้ถูกกดขี่โดย Augusto Boalแปลโดย ภินท์ ภารดามสำนักพิมพ์

[Book Re:commendation] แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น

[Book Re:commendation] แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น เทคโนโลยีการทำแผนที่มีความเป็นมาอย่างไร เรื่องของการทำแผนที่สมัยสงครามเวียดนาม ซึ่งเป็นต้นแบบของแผนที่ของราชการและของเอกชนอีกหลายฉบับรวมทั้งกูเกิ้ลแมปนั้นในความเป็นจริงแล้วจึงมีประวัติที่น่าสนใจ เช่นเดียวกับการสำรวจของนักวิชาการซึ่งร่วมทำแผนที่ฉบับนั้นและได้สร้างผลงานที่เป็นต้นแบบของการศึกษาหมู่บ้านและวัฒนธรรมชุมชนซึ่งเป็นประวัติของวงวิชาการไทยอีกอย่างหนึ่งที่น่าเรียนรู้….. “แผนที่สร้างชาติ: รัฐประชาชาติกับการทำแผนที่หมู่บ้านไทยในยุคสงครามเย็น” คือหนังสือที่ว่าด้วยการทำแผนที่ทหารที่ชื่อ ‘L708’ ในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งมุ่งตอบปมปัญหาหลักที่ว่า “รัฐประชาชาติ(nation state) ของไทยเกิดขึ้นเมื่อไร อะไรคือกลไกและปัจจัยให้รัฐประชาชาติก่อตัวขึ้นได้” ผ่านการพิจารณากระบวนการสำรวจและการทำแผนที่หมู่บ้านในประเทศไทยในยุคสงครามเย็น รวมถึงให้ความสำคัญกับการเข้ามาของเทคโนโลยีที่รัฐใช้ในฐานะที่เป็นความพยายามออกแบบสังคมและการทำให้ผู้คนหยุดนิ่งอยู่กับที่และกลายมาเป็นผู้สวามิภักดิ์กับรัฐในที่สุด…… ผลของการศึกษาวิเคราะห์เพื่อหาคำตอบของเรื่องราวดังกล่าว ถูกไล่เรียงออกมาเป็นประเด็นที่น่าสนใจหลายประการ ตั้งแต่บทบาทของสหรัฐอเมริกาในการพันาเทคโลโลยีการทำแผนที่, เทคโนโลยีในบริบทของสงครามเย็น, กำเนิดการทำแผนที่ภาพถ่ายทางอากาศในประเทศไทย,

[Book Re:commendation] Micro Politics: แรงสะท้อนของปัจเจกต่อแรงกระทบทางการเมืองผ่านสี่บทละครเวทีและการแสดงไทยร่วมสมัย

[Book Re:commendation]“Micro Politics: แรงสะท้อนของปัจเจกต่อแรงกระทบทางการเมืองผ่านสี่บทละครเวทีและการแสดงไทยร่วมสมัย” “มีบางคนไม่ให้ความร่วมมือ.ถ้าคุณไม่รักพวกเขา.ก็ออกไป.เข้าห้องน้ำ.ล้างหน้า ล้างตา.แล้วกลับมารักกันใหม่ได้…”—–(บางส่วนจากบทละคร โดย ธนพล วิรุฬหกุล) Collective Thai Scripts ก่อตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหวังที่จะรวบรวม จัดแปล และ ตีพิมพ์ บทละครเวทีและการแสดงไทยร่วมสมัยสู่ผู้อ่านทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งในฉบับที่หนึ่งนี้ได้ตีพิมพ์บทการแสดงไทยร่วมสมัย 4 เรื่องภายใต้หัวข้อ “Micro Politics” ประกอบด้วย “ที่ ไม่มีที่” โดย

Book Re:commendation ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทวิเคราะห์การศึกษาวาทกรรมการพัฒนา/ หลังการพัฒนา

Book Re:commendation ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทวิเคราะห์การศึกษาวาทกรรมการพัฒนา/ หลังการพัฒนา (On Critical Discourse Analysis) “ว่าด้วยการวิเคราะห์วาทกรรมแนววิพากษ์: บทวิเคราะห์การศึกษาวาทกรรมการพัฒนา/ หลังการพัฒนา” ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 หนังสือ วาทกรรมการพัฒนา ตีพิมพ์สู่สังคมไทยเป็นครั้งแรก หนังสือเล่มนี้เปิดพื้นที่มุมมองต่อการพัฒนาที่แตกต่าง สร้างผลกระทบต่อวงวิชาการด้านการพัฒนาเป็นอย่างมาก “วาทกรรม” กลายเป็นที่สนใจอย่างกว้างขวาง และถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ถูกใช้เป็นแนวทางในการศึกษาด้านการพัฒนาในฐานะที่เป็นวาทกรรมมาจนกระทั่งปัจจุบัน…. ทว่านับตั้งแต่ “วาทกรรมการพัฒนา”

[Book Re:commendation] เมือง กิน คน: แถลงการณ์ว่าด้วยเรื่องของนคราภิวัฒน์ การพัฒนาเมือง และสุขภาวะเมืองของไทย

ความเป็นเมืองไม่ใช่เพียงเป็นพื้นที่ หากแต่อยู่ที่วิถีชีวิตผู้คน ในความหมายนี้ ท่ามกลางชนบทก็ยังมีเมือง จึงกล่าวได้ว่า เวลานี้เราอยู่ในยุคสมัยของความเป็นเมืองแล้ว เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า เมืองคือความสะดวกสบาย ความเจริญ การมีบริการที่ก้าวหน้า เหนือสิ่งอื่นใด เมืองคือโอกาสทางการศึกษา ทางเศรษฐกิจ และการมีงานทำ และยังเป็นศูนย์รวมของภูมิปัญญาและพลังที่สร้างสรรค์จนมีการกล่าวว่าเมืองคือการสืบทอดวัฒนธรรม แต่ดูเหมือนเรากลับมีความเข้าใจและความใส่ใจต่อเมืองไม่มาก เมืองมักถูกพัฒนาตามยถากรรม การพัฒนาเมืองตามไม่ทันกับสภาพสังคมและกระแสการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างรวดเร็ว จึงนำมาซึ่งความขัดแย้งของเมืองในหลายด้านหลากมิติ…. “เมือง กิน คน” เล่มนี้ ถูกประกอบขึ้นจากหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นสุขภาวะของคนในเมือง สิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศวิทยาของเมือง